นี้คือความคิดริเริ่มการจัดการ การใช้หลอดพลาสติกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในประเทศเม็กซิโก
ไม่เพียงแค่ชักชวนให้ผู้คนเลิกใช้หลอด หรือเปลี่ยนวัสดุชนิดอื่นมาทดแทน แต่นี้โปรเจ็คต์นี้มาเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยนำธุรกิจของตัวเองสร้างสรรค์ไอเดียในการจัดการปัญหา
“Son de Miel” แบรนด์ผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง ของประเทศเม็กซิโก ชักชวนเพื่อนพ้องในแวดวงธุรกิจอีก 3 เจ้า ประกอบด้วย
1.Flock Linked by Isobar (บริษัท โฆษณาทางสื่อดิจิตอล)
2.Arbol (บริษัท ทำหนัง)
3.Praxlab (บริษัท ผลิตสื่อโฆษณา)
พวกเขาจัดตั้งทีมเฉพาะกิจร่วมกันทำงานอย่างจริงจัง เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโดยตรง กลุ่มนักวิชาการ สถานศึกษาต่างๆ เพื่อทำการศึกษาวิจัยการเลี้ยงผึ้งให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการออกแบบดีไซน์รังผึ้งเทียมเพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มผู้เลี้ยง ซึ่งก็ได้ผลอย่างน่าพอใจ
หลังจากนั้นทีมเฉพาะกิจก็ได้ขับเคลื่อนไปสู่การรณรงค์เพื่อลดปริมาณการใช้หลอด โดยมีการจัดทำข้อตกลง MOU ระหว่างผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารต่างๆ เพื่อลดการจ่ายหลอดพลาสติกให้แก่ลูกค้า
เมื่อไม่มีการจ่ายหลอด ก็จะรณรงค์ให้มีการนำหลอดที่เคยจ่ายออกไปก่อนหน้านั้นกลับคืนมา
แล้วนำมาผลิตเป็นรังผึ้งเทียมแจกจ่ายไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง
Win-Win กันทุกฝ่าย
ได้ทั้งเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม
ได้ทั้งน้ำผึ้งคุณภาพ
ถือเป็นอีกหนึ่งโปรเจ็คต์ที่น่าชื่นชม และควรนำมาเป็นโมเดลในการขยายผลเป็นอย่างยิ่ง
ในบ้านเรายังมีกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งอยู่อีกจำนวนมาก และปัญหาการจัดการขยะโดยเฉพาะหลอดพลาสติก กำลังได้รับความสนใจร่วมกันแชร์ไอเดียการจัดการอย่างคึกคัก
ลองนำวิธีคิดจากโปรเจ็คต์‘Last Straw’ ไปปรับใช้ดู
ไม่แน่อนาคตอันใกล้เราอาจได้เห็นตัวอย่างดีๆของการจัดการหลอดพลาสติกของบ้านเรา กลายเป็น Classic Case ในระดับโลกก็เป็นได้ ใครจะไปรู้
หมายเหตุ :
ขอบคุณข้อมูลจาก : The Momentum
และภาพจาก : FB โซดิแอ็กซ์ ไซบีเรียน