พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550
กับปฏิบัติการพา 13 หมูป่าออกจากถ้ำหลวง
23 มิ.ย.2561 นักฟุตบอลและผู้ช่วยโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมีติดถ้ำเขาหลวง ขุนน้ำนางนอง อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย
2 ก.ค.2561 ปฏิบัติการค้นหาส่วนหน้าพบทั้ง 13 ชีวิต ติดอยู่บริเวณที่เรียกว่าเนินนมสาว ซึ่งเป็นเนินสูงทั้งหมดหนีน้ำขึ้นไปอยู่บริเวณนั้น ทุกคนปลอดภัยและแข็งแรงดี ซึ่งเป็นวันที่ 10 ที่ทั้งหมดติดอยู่ภายในถ้ำ
8 ก.ค.2561 ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือนำพาผู้ติดอยู่ภายในถ้ำออกมาได้ 4 คน เป็นชุดแรก เมื่อเวลา 17.40 น. เป็นวันที่ 15 ที่ติดอยู่ภายในถ้ำ ซึ่งเร็วกว่าที่นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้บัญชาการเหตุการณ์ศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย (ศอร.) คาดการณ์ไว้ว่าคนแรก จะสามารถออกจากถ้ำในเวลาประมาณ 21.00 น.
9 ก.ค.2561 ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือนำพาผู้ติดอยู่ในถ้ำเป็นครั้งที่ 2 สามารถนำพาน้องๆหมูป่าออกมาได้อีก 4 คน ภาระกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
รวมปฏิบัติการสองครั้ง นำพาออกมาได้ 8 คน คงเหลืออีก 5 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินสถาณการณ์อย่างรอบด้านอีกครั้งก่อนให้ความช่วยเหลือออกมา
ปฏิบัติการช่วยเหลือ 13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี ได้รับความสนใจไปทั่วโลก กองทัพสื่อมวลชนลงพื้นที่ปักหลักตั้งแต่วันแรกๆของเหตุการณ์ร่วมพันคน
ย้ำ!!! สื่อไทยและเทศลงพื้นที่ปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 1,000 คน
ความหวังดีของสื่อฯ ในฐานะผู้เกาะติดสถานการณ์ รายงานความเคลื่อนไหวปฏิบัติการสู่ผู้ชมทางบ้าน กลายเป็นเงื่อนไขใหม่ที่สำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกส่วน จนเป็นที่มาของการจัดระเบียบสื่อฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างคล่องตัว
กลไกลหลักในการจัดระเบียบสื่อฯ ในปฏิบัติการครั้งนี้ คือ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ใน ม.23 เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ติดต่อ หรือใกล้เคียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้น ที่จะสนับสนุนการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น
จึงเป็นที่มาของการขอความร่วมมือให้สื่อฯ ย้ายอุปกรณ์ทุกอย่างไปอยู่ที่ อบต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกับจุดเกิดเหตุ
และการแถลงข่าวเมื่อช่วงดึกของวันที่ 8 ก.ค.2561 ผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ ระบุชัดว่าการทำงานมีประสิทธิภาพ ทุกอย่างเดินหน้าอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าแผนที่เคยวักซ้อมไว้กว่า 5 เท่า
ตอกย้ำด้วยการพาดหัวข่าวไปในทำนองเดียวกันว่า การจัดระเบียบครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานได้เร็วขึ้นมาก เช่น พาดหัวข่าวนี้ จากกรุงเทพธุรกิจ
“ไร้ทัพสื่อขวาง! ส่ง 4 หมูป่าถึงรพ.เร็วขึ้น 5 เท่า วางแผนต่อทันทีช่วยอีก 9 คน”[1]
ไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปี พ.ศ.2550[2] ที่ถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติงานครั้งนี้กัน
ขอบคุณภาพจากเพจ #Thai NavySEAL