CSR Internship Platform แผนสร้างคนเคลื่อนงาน CSR


CSR Internship Platform : แผนสร้างคนเคลื่อนงาน CSR

เพราะ CSR กำลังก้าวข้าม ระดับจิตอาสา ก้าวข้ามงานบริจาค สู่การสร้างความยั่งยืน เป็นการขับเคลื่อนแบบสอนให้ชาวบ้านหาปลาไม่ใช่การเอาปลาไปให้แก่ชาวบ้านเช่นในอดีต

งานด้าน CSR ในประเทศไทย ก็ฝันไกลๆ สู่ความยั่งยืน สู่การสร้างสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม แต่ความพร้อมด้านบุคลากรยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ

CSR Internship Platform” จึงเกิดขึ้น เพื่อหาคนที่ใช่ สู่งานที่ชอบ ตอบโจทย์ความต้องการทั้งสถานประกอบการ และความต้องการของคนทำงานไปพร้อมๆ กัน 

 

Concept : CSR Internship Platform
ดร. สุนทร คุณชัยมัง ผู้เชี่ยวชาญด้านงาน CSR เปิดเผยถึงที่มาที่ไปของ Project  ต่อผู้เข้าร่วม Forum ซึ่งมาจากหลากหลายภาคส่วน โดยเริ่มด้วยการนำเสนองานของ Michael E. Porter เรื่อง The new role of business in global education ที่กล่าวถึง การสร้างค่านิยมร่วมกันจากการยกระดับด้านการศึกษา เพื่อให้สังคมได้ประโยชน์ ประเทศชาติได้ประโยชน์ และตัวบริษัทเองก็ได้ประโยชน์ ผ่านความร่วมมือกันระหว่าง หน่วยงานด้านการศึกษา / รัฐบาล และภาคธุรกิจ

ขณะที่ในประเทศไทย ปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษา/ทรัพยากรมนุษย์ของไทย ที่การศึกษานั้นยังไม่สอดคล้องและตามไม่ทันความต้องการของตลาดแรงงาน จึงเกิดเป็นปัญหา Demand ไม่สอดคล้องกับ Supply ขณะที่ภาครัฐก็พยายามพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาผู้นำ โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ที่มีความพยายามในการเอาผู้ประกอบการมาช่วยในการออกแบบหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ

ความร่วมมือด้านการศึกษา กรณี Triple Helix & WiL ที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเป็นความร่วมมือกันของ สยามมิชลิน , สถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น และ สวทน. โดยได้ออกแบบหลักสูตรภายใต้ปรัชญา WiL = Work Integrated Learning  โดยเป็นการเน้นให้โรงงานเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน

นอกจากนี้ ยังได้ยกตัวอย่าง กรณีการศึกษาต่างๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาด้านการศึกษาด้วยความร่วมมือของหลายภาคส่วน อาทิ กรณีศึกษา บริษัทเพียรกุศลไหมและฝ่ายจำกัด, กรณีเครือข่ายผลิตกำลังคนของระบบราง, โครงการทุนพยาบาล และ โครงการ VChEPC

ปัญหาที่มีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ยากในการแก้ไขด้วยองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จึงมีการเสนอ รูปแบบการจัดการแบบใหม่ ที่เป็นการจัดการรวมกันของ  Stakeholder  โดยเฉพาะ ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการปรึกษา ร่วมกันดำเนินงานในรูปแบบที่ต่างออกไป ในลักษณะ Strategic Philanthropy, Strategic Partnership  ที่จะอาศัยความร่วมมือกันเพื่อนำไปแก้ปัญหาดังกล่าวได้

ทรัพยากรบุคคล
ในภาพรวมเรื่องของทรัพยากรบุคคลในงาน CSR ปัจจุบันนั้น  ในส่วนขององค์กร กำลังประสบกับปัญหาขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ “ที่ใช่-ในทุกระดับงาน” ขณะที่ภาคการศึกษา ยังมีหลักสูตรที่ล้าหลัง และอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร การศึกษาเรื่อง CSR มีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาด้าน CSR ขณะที่ฝ่ายนักศึกษา ก็ประสบกับปัญหาเรื่องไม่มีที่เรียนรู้เกี่ยวกับงาน CSR  

CSR Internship Platform นั้น จะเป็นโครงการเพื่อสร้างโอกาสให้เปิดกว้างและสอดคล้องกับนักศึกษาที่ต้องการเรียนในหลักสูตรเกี่ยวกับ ด้าน CSR  โดยในเบื้องต้น กำหนดให้องค์กร มีบทบาทในการเป็นสถานที่ฝึกงาน เป็นทั้งพี่เลี้ยงและผู้ออกแบบความต้องการมาเอง ขณะที่มหาวิทยาลัย เป็นส่วนที่จะคอยกระตุ้นประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาที่สนใจเข้ามาร่วมศึกษาในงานภาคสนาม ขณะที่นักศึกษาก็จะได้รับโอกาสในการเข้าไปร่วมฝึกงานด้าน CSR ตามหน่วยงานต่างๆ โดย  ผลที่ได้รับนั้น "องค์กรจะมีโอกาสในการคัดเลือกบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของบริษัทได้ ขณะที่มหาวิทยาลัยเองก็จัดหางานที่เหมาะกับความต้องการของนักศึกษาได้"

เครือข่ายพัฒนาบุคลากร : Collaboration แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ องค์กรฝึกงาน ในที่นี้ประกอบด้วย กลุ่มบริษัทที่เชิญมาและมูลนิธิสัมมาชีพ เป็นต้น  สถาบันการศึกษา ซึ่งเบื้องต้นประกอบด้วย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ขณะที่องค์กรประสาน คือ บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดยจะออกมาในรูปแบบ CSR + HR Research  เพื่อประเมินความสามารถของผู้ฝึกงาน ทางองค์กรฝึกงานอาจจะได้บุคลากรที่ตรงกับความต้องการ ขณะองค์กรประสานก็จะได้ข้อมูลในเชิง Research เพื่อเอาไปใช้ต่อยอดธุรกิจในอนาคต

CSR Internship Platform ในเบื้องต้นได้วาง platform ไว้ 3 ระดับ คือ การทำความเข้าใจเบื้องต้น / จัดตั้งเครือข่าย ลำดับถัดมาเป็นเรื่องของการออกแบบโครงการฝึกงาน ซึ่งน่าจะมีเนื้อหาประกอบด้วยเรื่องของ CSR Overview, Apprenticeship, Evaluation ในส่วนนี้จำเป็นต้องหารือกับผู้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดเนื้อหาร่วมกัน ในขั้นสุดท้าย จะเป็นเรื่องของการเผยแพร่ต่อสาธารณะ / การสร้างประโยชน์ต่อสังคม

ในส่วนของ Platform นั้น จะประกอบไปด้วย องค์กรร่วมจัด คือ บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด, สถาบันไทยพัฒน์, Expert Aspect International (EAI) และThailand Social Business Initiative (TSBI) ขณะที่พันธมิตรคือหน่วยงานที่ร่วมประชุม โดยในความร่วมมือระหว่างองค์กรและพันธมิตรนั้น จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ผลที่ได้จะช่วยสนับสนุนการจัดหาบุคลากรด้าน CSR ที่ใช่ให้กับองค์กร ขณะที่ฐานข้อมูลบุคลากรด้าน CSR และ โปรแกรม Training จะเป็นส่วนที่จะสร้างมูลค่าให้กับองค์กรร่วมจัด โดยข้อมูลและโปรแกรมนี้จะสามารถสนับสนุนการสร้างความสามารถให้กับระบบธุรกิจ/สังคมได้

ความเห็นจาก Forum
ในด้าน Demand  มองว่าโครงการนี้จะช่วยตอบโจทย์กับความต้องการของบริษัทจริงๆ แต่ยังมองว่าจะต้องมีการหารือกันเพิ่มเติมในเรื่องของการกำหนด Model ร่วมกับ และอาจจะต้องมีการกำหนด Model แยกของแต่ละองค์กรตามบริบทแต่ละพื้นที่

ในด้าน Demand  นั้น ปัจจุบันนี้ถือว่ามีคนที่ต้องการดำเนินงานในสายงาน CSR ค่อนข้างสูง แต่ด้าน Supply นั้น มองว่าในการผลักดันนั้นไม่ควรมองแค่ที่มหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว อาจจะให้เพิ่มในส่วนของวิทยาลัยวิชาชีพด้วย เนื่องจากบางพื้นที่ยังไม่มีมหาวิทยาลัย แต่ก็มีวิทยาลัยวิชาชีพทำหลักสูตรร่วมกับทางโรงงานอยู่ด้วย

ในการพัฒนางานนั้น อาจจะดำเนินการในรูปแบบที่เมื่อได้นักเรียนรุ่นที่ 1 แล้ว ก็อาจจะพาไปดูงานร่วมกันของแต่ละที่เพื่อให้ผลที่ได้รับนั้น เป็นไปทั้ง Demand, Supply และ Stakeholder  ขณะที่ในเรื่องของ Supply นั้น อาจจะต้องมีการสร้าง Impact  เพื่อให้เกิดความสนใจมากขึ้น เช่น การให้นักเรียนที่เก่งได้ไปดูงานที่ต่างประเทศ และให้กลับมานำเสนอ Model  ในการทำงานรูแบบใหม่ๆ เป็นต้น

ในการพัฒนาด้านบุคลากรด้าน CSR  นั้น อยากให้มองเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนคนที่มีอยู่แล้วในระบบ ต้องมองว่าทำอย่างไรให้บุคคลเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น มีมุมมองด้าน CSR ไปในทิศทางเดียวกัน
2. ส่วนคนที่จะมาใหม่ ต้องมองว่าจะพัฒนาอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน โดยอาจจะต้องเริ่มที่ภาคการศึกษาต้อง Reform ให้อยู่ในรูปแบบที่ทางองค์กรต่างๆ ต้องการ

ในการแก้ปัญหาเรื่องของคนที่มีอยู่แล้วในระบบนั้น ดร.สุนทร เสนอให้ต้องทำเป็นหลักสูตรโดยแบ่งออกเป็น การทำความเข้าใจในระดับพนักงาน และการทำความเข้าใจในระดับฝ่ายบริหารงานองค์กร โดยเสนอให้เกิดการพูดคุยร่วมกันผ่านการจัดงาน Submit หรือการเข้าไปเรียนรู้จากหลักสูตรปริญญาโท

เป็นอีกแรงขับเคลื่อนครั้งสำคัญ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย ด้วยหวังให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างเป็นจริงเป็นจัง จากงาน CSR จากคนที่มาจาก CSR Internship Platform

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube