“จนเงินแต่ไม่จนน้ำใจ” จากสภากาแฟ สู่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2526 มีสมาชิกเริ่มต้น 27 คน กับเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 2,700 บาท ด้วยความมีจิตสำนึก "จนเงินแต่ไม่จนน้ำใจ" ของคนในชุมชน ที่อยู่ร่วมกันแบบสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว ให้ความช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา ได้ดำเนินการมากว่า 32 ปี มีสมาชิก 14,850 คน มีเงินหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมของสมาชิกกว่า 160 ล้านบาทแหล่งศึกษาดูงาน
ด้านเกษตร
ชื่อ/องค์กร
กลุ่มออมทรัพย์บ้านดอนคา
ที่ตั้ง/ผู้ประสานงาน
75 หมู่ที่ 2 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 80320
โทรศัพท์ 075-394000
นายวิโรจน์ คงปัญญา ประธาน
https://www.facebook.com/kularpwan/
https://www.thaipr.net/tag/
ประเภทกิจการ
สถาบันการเงินชุมชน
จุดเด่น/ลักษณะเฉพาะ
แนวคิดของกลุ่ม
- การรวมคนในหมู่บ้านให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยรวมคนที่มีฐานะแตกต่างกันให้ช่วยเหลือกัน อันจะเป็นการยกฐานะคนยากจน
- การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุน โดยรวมกลุ่มกันออมเงินแล้วกู้ไปทาทุน
- การนาเงินทุนไปดาเนินการด้วยความขยัน ประหยัดและถูกต้อง เพื่อให้ได้ทุนคืนและมีกาไรเป็นรายได้
- การลดต้นทุนในการครองชีพ โดยการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด เป็นการรวมกันซื้อ-ขาย สามารถลดต้นทุนในการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค และปัจจัยการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เมื่อดาเนินการระดมเงินออมมาได้ระยะหนึ่งจนสมาชิก มีความเข้าใจในการดาเนินงานกลุ่มแล้ว กลุ่มสามารถนาเงินทุนที่มีอยู่มาดาเนินกิจกรรมเพื่อ ช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาของสมาชิกและชุมชน
การดาเนินกิจกรรม
- ด้านการพัฒนาอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกู้เงิน ไปประกอบอาชีพ ขยายการผลิต และเพื่อใช้เป็นสวัสดิการในครอบครัว โดยการดาเนินกิจกรรม การบริการเงินกู้
- ด้านการพัฒนาระบบการจัดการทางธุรกิจ เป็นการดาเนินกิจกรรมที่ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน เป็นการฝึกการดาเนินธุรกิจในระบบกลุ่ม และมุ่งหวังผล กาไรเพื่อนาไปดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มและการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกและชุมชน กิจกรรม เชิงธุรกิจที่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดาเนินการ ได้แก่ ศูนย์สาธิตการตลาดเป็นร้านค้าที่กลุ่มฯ ลงทุนจัดตั้งขึ้นเพื่ออานวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงปัจจัยการผลิตให้ กับสมาชิก ยุ้งฉาง เป็นกิจกรรมที่กลุ่มฯ ลงทุนจัด ขึ้น เพื่อดาเนินการซื้อขายผลผลิตของสมาชิก ด้วยการรับซื้อ ขายฝาก หรือ ฝากขาย ทั้งนี้กลุ่มจะช่วยให้สมาชิกไม่ต้องขายผลผลิตอย่างเร่งด่วน ถูกกดราคา และเป็นการหากาไรให้กับกลุ่มฯ ด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตั้งกลุ่มดาเนินการ ตามมติของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของสมาชิกและชุมชน เช่น ปั๊มน้ามัน เพื่อจัดหาน้ามันมาบริการแก่สมาชิกและประชาชนในราคายุติธรรม ลานตากผลผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิต มีความชื้น เช่น ข้าว, มันสาปะหลัง โรงสีข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวเปลือกราคาตกต่า โดยแปรรูปเป็น ข้าวสาร และส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์โดยใช้ราและปลายข้าว กองทุนปุ๋ยชีวภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาดิน เสื่อมสภาพ การผลิตน้าดื่มสะอาด โรงแป้งขนมจีน เป็นการฝึกหัดให้กลุ่มรู้จักดาเนินธุรกิจ
-
ด้านการสงเคราะห์และสวัสดิการ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มดาเนินการเพื่อช่วยเหลือ สมาชิกและคนยากจนในชุมชน ได้แก่ ธนาคารข้าว เป็นกิจกรรมที่กลุ่มฯ ดาเนินการเพื่อการสงเคราะห์ ช่วยเหลือโดยการให้กู้ ให้ยืม และให้เปล่า นอกจากนี้กลุ่มฯ นาผลกาไรส่วนหนึ่งจากการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ มาช่วยเหลือ สมาชิกที่เดือดร้อนและคืนสู่ชุมชน เช่น การรักษาพยาบาล ทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก ช่วยเหลือ การจัดงานศพสมาชิกการสงเคราะห์คนชรา การพัฒนาหมู่บ้านและบารุงรักษาสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
โครงสร้างองค์กร/การบริหารจัดการ
ก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์บ้านดอนคาขึ้นในปี 2527 มีสมาชิกร่วมจัดตั้งจานวน 37 คน เงินสะสมจานวน 2,850 บาท ที่ตั้งปัจจุบันเลขที่ 75 หมู่ที่ 2 ตาบลทอนหงส์ อาเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายวิโรจน์ คงปัญญา เป็นประธาน มีสมาชิกจานวน 6,025 คน เงินทุนหมุนเวียนจานวน 55 ล้านบาท พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารกลุ่มจานวน 48 คน
การบริหารกลุ่มออมทรัพย์
- คณะกรรมการอานวยการ จานวน 5-9 คน มีหน้าที่ในการบริหาร จัดการกลุ่มออมทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่พึงพอใจของสมาชิก ตลอดจนเป็นตัวแทนของกลุ่มในการประสานงาน และติดต่อกับองค์กรภายนอก
- คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ จานวน 3-5 คน มีหน้าที่ในการพิจารณาให้กู้ – ยืมเงิน ติดตามโครงการ และเร่งรัดหนี้สิน
- คณะกรรมการตรวจสอบ จานวน 3-5 คน มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและผลการดาเนินงานของกลุ่ม
-
คณะกรรมการส่งเสริมขึ้นอยู่กับจานวนสมาชิกและระเบียบข้อบังคับของกลุ่มมีหน้าที่ชักชวน ผู้สมัครใจสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์แก่สมาชิกประสานงานระหว่างสมาชิกกับกลุ่ม และกลุ่มกับสมาชิกให้มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ผลลัพธ์/การสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับชุมชน
- ปัจจุบันมีสมาชิก 14,850 คน มีเงินหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมของสมาชิกกว่า 160 ล้านบาท
- ชาวบ้านดอนคาได้ใช้กลุ่มออมทรัพย์ เป็นเครื่องมือสาคัญในการบริหารจัดการทุนต่างๆ ของชุมชนอย่างบูรณาการและเชื่อมโยง
- มีสถาบันการเงินชุมชนชั้นดีที่มีชุมชนเป็นเจ้าของ และก่อให้เกิดกลไกการดูแลกันอย่างเชื่อมโยงตามหน่วยย่อยต่างๆ ของชุมชน
- ส่งเสริมให้ครอบครัวเกิดทักษะการออม การรู้จักวางแผนและมีวินัยทางการเงินซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวอบอุ่น
-
เกิดเครือข่ายกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น โรงแป้งขนมจีน โรงรมยางพาราและอบแห้ง โรงปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น เกิดตลาดชุมชน เพื่อรองรับอาชีพและผลผลิต
รางวัล
- ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จากกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2538
- รางวัลผู้นาอาชีพก้าวหน้าระดับจังหวัดโดยคณะกกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2542
- ใบประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่นด้านผู้นาชุมชน “คนดีศรีพรหมคีรี” ปี พ.ศ. 2543
- รางวัลเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน ปี พ.ศ. 2543
- ใบประกาศเกียรติคุณในการแทรกแซงตลาดยางพารา จนประสบความสาเร็จปี พ.ศ.2543
- ประกาศนียบัตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปี พ.ศ.2543
- เกียรติบัตรนักพัฒนาดีเด่น ด้านจัดกระบวนการด้านพัฒนาชุมชนกลุมออมทรัพย์บ้านทอนหงส์ และบริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหารจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชปี พ.ศ.2545
- ได้รับโล่เกียรติคุณพัฒนาวิสาหกิจชุมชนดีเด่น/ เศรษฐกิจพอเพียงกระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ.2547
- ได้รับประกาศเกียรติคุณ “คนดีเพื่อสังคม” อาเภอพรหมคีรี ปีพ.ศ.2548
- ได้รับประกาศเกียรติคุณ “คนดีเพื่อสังคม” ระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีพ.ศ. 2548
-
ได้รับเกียรติบัตร “โครงการรักษาสิ่งแวดล้อม” อาเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.2551
ภาพประกอบ