“........ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียวฯ ......”
“ลูกแม่โดม” สายเลือด เหลือง-แดง ต้องรู้จักว่าเป็นวรรคทองของกวีเพลงเถื่อนแห่งสถาบัน[1] ของที่นักศึกษาปี 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ “วิทยากร เชียงกูล” รังสรรค์ขึ้นตั้งแต่ปี 2511 อันเป็นจุดเชื่อมแนวคิดทางการเมืองอย่างโดนใจของกลุ่มนักศึกษาของ 14 ตุลาฯ 2516 และยังเป็นแรงกระตุ้นปลุกเร้าให้หลายคนอยากเข้าเรียนในสถาบันแห่งนี้ รวมทั้งการตามหาตัวตนของตัวเอง!!!!!!!!
การทำงานที่มุ่งหาคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ทำให้ผมไม่ได้กลับไปที่สถาบันที่เคยศึกษาอยู่เลย จนกระทั่งมีเพื่อนๆ ส่งข่าวว่าวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีการเสวนาเกี่ยวกับการทำงานการเมืองของผู้หญิง น่าสนใจแหะ!
ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการเสวนา ซึ่งเป็นโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา ในเรื่องชีวิตและผลงานของผู้หญิงธรรมศาสตร์ในรอบ 80 ปี โดยผู้จัดทำโครงการได้ทำงานวิจัยในเรื่องนี้ด้วย โดยคัดเลือก ศิษย์เก่าเพศหญิงที่ทำงานเกี่ยวกับการเมืองประมาณ 11 ท่าน แต่มาในวันนี้ 2 ท่าน คืออาจารย์สุนี ไชยรส ซึ่งท่านเป็นแนวหน้าในการทำงานเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิงและคุณรสนา โตสิตระกูล เป็นแกนนำและตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540
ถ้าเป็นอย่างงี้......เรามาลองฟังที่ทั้งสองท่านมาแชร์ประสบการณ์ให้เราฟังกันดีกว่า ...........
อาจารย์สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ความสำเร็จ ของ 14 ตุลาฯ 2516 อยู่ที่การถือปรัชญาการต่อสู้ เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน แบบ 3 ประสาน คือ นักศึกษาปัญญาชน กรรมกร และชาวนา และอีกวิถีหนึ่งที่ต้องไปร่วมชะตากรรม คือ ทุกคนพร้อมที่จะไปติดคุก ทำให้ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ ซึ่งจากสถานการณ์เผด็จการทำเกิดแรงขับเคลื่อนพลังต่อสู้!!!! และเปิดประเด็นการต่อสู้ของภาคประชาชน
แต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ก็มีความครุกรุ่นต่อเนื่องมาถึง 16 ตุลาฯ 2519 ทางการปราบนักศึกษาเสียชีวิตราว 200 คน เมื่อเหตุการณ์เริ่มสงบ ตามคำสั่ง 66/2523 ตนกลับเข้าสู่เมืองแต่ไม่ได้ไปรายงานตัว จึงถูกจับ ก็ยังถูกกลั่นแกล้งอีก โดยใช้คดีเดิมที่ศาลเคยยกฟ้อง (กรณีกรรมกรอ้อมน้อย) ช่วงนั้นมีลูกน้อยต้องนำลูกเข้าไปเลี้ยงในคุก และทำให้มีข้อต่อรองในการไม่ต้องตรวจภายในก่อนที่จะเดินเข้าไปในคุก แต่การต่อสู้อยู่ในสายเลือด จึงถือว่า "เพราะชีวิตยังอยู่ จึงต้องสู้ต่อไป"
อาจารย์สุนี ท่านได้นำประสบการณ์มาเล่าให้รวมทั้งการสะท้อนให้เห็นบทบาทของกระบวนยุติธรรมของทัณฑ์สถานหญิงที่ล่วงละเมิดทางเพศ โดยอ้างว่า กลัวลักลอบนำยาเสพติดเข้าไปในคุก!!! โอ้อนิจจา! แม่เจ้า!! ผมคิดว่า มีหลายวิธีที่จะสามารถตรวจสอบได้ก่อนเข้าคุก มันน่าสังเวชใจยิ่งนัก เมื่อรู้ถึงกระบวนการนี้ และเมื่อได้เข้าเป็นตัวแทน สสร. ฉบับปี 2540 ใช้ "หลักการของประชาธิปไตย ควรจะต้องยืนบนพื้นฐานแห่ง ความเสมอภาค ต้องมีการกระจายอำนาจให้ทั่วถึง" เหมือนกับชายหญิงที่ร่วมกันต่อสู้เมื่อ 14 ตุลาฯ ที่มีสัญลักษณ์อยู่บนแผ่นกระดาษและแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์อยู่เสมอ
ท่านคือนักต่อสู้เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งอาจารย์สุนี ได้ตามหาความหมายของตนเองได้อย่างชัดเจน เมื่ออยู่ในรั้วและนอกรั้วของยูงทอง
อีกท่านหนึ่งที่ยังเป็นนักต่อสู้หญิงอีกท่านหนึ่งในเวทีนี้ คือ ....คุณรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม.ในฐานะกรรมการมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ มหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันอยากที่จะเข้าเรียน เพราะว่า สภาพสังคมในสมัยนั้น หล่อหลอมให้เราฝันอยากเป็นนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เพราะเห็นพลังที่ ม.ธรรมศาสตร์ สร้างให้สังคม ซึ่งเป็นอีก 1 ท่าน ที่ตามหาความหมายให้กับตนเอง จนมาสะดุดปรัชญาของ ท่านพุทธธาส "ตัวกูของกู" จึงนำมาซึ่งการเข้าสู่ชมรม "พุทธศาสนและประเพณี" จากนั้นก็ได้รู้จัก อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ศ.สิวลักษณ์ และได้ศึกษาด้านพุทธศาสนาเรื่อยๆ และทั้งนี้ยังได้แปลหนังสือของ มหาตมะคานธี กะมาสะดุด ซึ่งพบประเด็นสำคัญ 2 ข้อ คือ 1.หล่อเลี้ยงกาย (สัมมาอาชีวะ) และ 2.การขัดเกลาหล่อเลี้ยงภายใน และตกกระไดพลอยโจนได้เป็น Accident Heroine เรื่อง ทุจริตยา อันที่จริงเรื่องทุจริตยา ที่ต้องมาออกหน้าเหมือนตกกระไดพลอยโจน เพราะการแถลงข่าวในครั้งแรกต้องเป็นพี่อีกคน แต่เขาไปผิดที่นัดหมาย ในการทำงานต้องบอกว่า การขับเคลื่อนภาคประชาชน ส่วนหนึ่งในตัวตน ถือว่าได้รับการหล่อหลอมมาจากความเป็นธรรมศาสตร์ในสายเลือด และยังจะต่อสู่เคียงข้างประชาชนต่อไป ตราบที่ยังมีแรง โดยในการทำงานที่สำเร็จก็ใช้หลักการ 3 ประสานที่ครบวงจึงสำเร็จได้ ประกอบด้วย ข้อมูลอินไซด์เดอร์จากหมอ รวมถึงการเคลื่อนไหวของภาคพลเมือง และสื่อ มีปรัชญาในการขับเคลื่อนคือ “ใช้มรรควิธีในการทำงาน” หมายถึง การดำเนินการจะต้องอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องจึงจะสำเร็จ ซึ่งแนวคิดนี้ได้จาก ลุงฟุ (ฟุกูโอกะคิด) และมีเป้าหมายให้กับประชาชน คือ กินอิ่ม นอนอุ่น
โอ๊ว......สุดยอดนักต่อสู้ การทำงานของผู้ใหญ่ในรั้วเหลือง-แดง อาจมองได้ว่า เป็นการสืบสาน การสานต่อ การรับช่วง การส่งไม้ในการทำงานจริง ๆ อีกท่านหนึ่งได้เป็นสสร.ในการออกกฎหมาย และอีกท่านหนึ่งเป็นนักปฏิบัติการ นักตรวจสอบ การใช้กฎหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่า เป็นตัวอักษรที่งดงามอยู่ในมาตรอย่างเดียว!!!!!! มันสามารถทำได้ตามนั้นจริงๆ นะท่านนักการเมือง
......ได้ฟังแบบนี้แล้ว การกลับไปรั้วแม่โดมคราวนี้ มันทำให้เลือดเหลือง-แดง สูบฉีดสูงปรี๊ด.......มาก ไม่เสียเที่ยวจริงๆ อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งที่สรรสร้างกำลังใจให้ผมกลับไปทำงานในชุมชนตามหน้าที่ฟันเฟืองกลไกทางสังคมต่อไปได้อีกครับผม.....
โดย ........ไม้เอก.....
ที่มา
[1] เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน หรือที่นิยมเรียกว่า ฉันจึงมาหาความหมาย เป็นกลอนที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา "หัวก้าวหน้า" ยุคก่อนและหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาของกลอนสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งตั้งคำถามเชิงเสียดสีเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาในมหาวิทยาลัย