จัดการขยะ วาระแห่งใจ


ขยะมาแล้วๆ ๆ จ้า

เอาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการจัดการ...ขยะมาฝาก...ครับ...พี่น้อง

เอ๊ย! เพื่อนลืมตาได้ยัง.............

เอ่อ...น่า...ลืมตามองเห็น ดอกอะไร(ว่ะ)...ที่ไหน?...

อ้าว.....ปรับเบาะมองไปเจอ..ป้ายบอกว่า..... อ่างเก็บน้ำคลองระบ[1](ตามพระราชดำริ) จังหวัดฉะเชิงเทรา   เห็นน้ำใสๆ เปิดประตูลง...เหยียบอะไรนะ...ขวดแก้วที่แตกแล้ว...เฮ้อ!!!! อนิจจา...ขยะๆ ที่เป็นขวดแก้ว...

    

ต้องบอกว่า สุดยอดมากเลยครับบบบบ.....เอ๊ะ!!  เห็นอะไรนะลอยมากับคลื่นน้ำเข้ากระทบหาดทราย   น้อยๆ  โอ้ว.....มันคือ.....ขวดพลาสติก...ถุงพลาสติก.....

นี่คือ....มิติใหม่แห่งการท่องเที่ยวหรือเปล่าหนอ......วิวไกลๆ สวยมากครับไม่เชื่อต้องดูเองครับผม

         

หว๊า......เสียอรรถรสในการชมบรรยากาศ น้ำใสๆ ฟ้าสวยๆ แต่พอมองที่ร่องหิน..เจออะไรอีกหว่า...

แต๊นๆ แต้น....มันคือ ! สิ่งนี้ครับ

   

    

ถ้างั้น! ลองมาดูบรรยากาศรอบๆ ในการจัดการขยะของแหล่งท่องเที่ยวนี้ดีกว่า แต่อยากให้ดูจากรูปนะครับ

   

   

เกิดคำถามในใจว่า ทำไม๊! ทำไม ที่ต่างประเทศ เช่น ประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน สวีเดน ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งแต่สิงคโปร์ สะอาดมาก ทำไมประเทศไทยจึงเป็นเช่นนี้!!! โอ้ อนิจจา....หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ทางรัฐบาลเหล่านั้น ใช้การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงประชาชนเหล่านี้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและประเทศของตนเองอย่างเต็มใจและรู้ถึงผลสะเทือนในเรื่องนี้ และต้องการที่จะรักษ์สิ่งแวดล้อมไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไป

ลองมาดูว่า ประเทศเขาเหล่านั้นมีวิธีการจัดการกับขยะกันอย่างไรบ้าง ..........ในปัจจุบันแนวคิดในการบริหารจัดการขยะ มีอยู่ 2 แนวคิด ได้แก่

  1. แนวคิดขยะเหลือศูนย์ (zero waste management)   คือ เป็นแนวคิดที่ยึดหลักการที่ว่า “ขยะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ  สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้” การใช้วัตถุการผลิตที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ให้มากที่สุด   ลดปริมาณของเสียที่จะทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด บริโภคให้พอดีและบริโภคสินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  2. การลดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เป็นแนวทางการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาและลดปริมาณมูลฝอย อาจจะมีมาตรการที่ดำเนินการได้แก่
  • การจัดตั้งองค์กรดำเนินการด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว โดยเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ เพื่อรวบรวมและนำกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิล เช่น เยอรมัน เบลเยียม ฝรั่งเศส อังกฤษ และญี่ปุ่น
  • การใช้ระบบมัดจำและคืนเงิน เช่น อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย สวีเดน เยอรมัน เดนมาร์ก เกาหลี และไต้หวัน
  • จัดเก็บค่าธรรมเนียมบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิต เช่น เยอรมัน เบลเยียม อังกฤษ แคนนาดา และญี่ปุ่น
  • การกำหนดภาษีบรรจุภัณฑ์ เช่น ญี่ปุ่นเก็บภาษีถุงพลาสติก(ถุงหิ้วราคา 5 เยนต่อใบ)
  • การลดภาษีให้กับผู้ประกอบการ เมื่อมีการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เช่น นอร์เวย์ เยอรมนี สวีเดน
  • การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้วิธีการลดและคัดแยกบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้อง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการลดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เช่น แคนนาดา
  • กำหนดสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงถึงการนำบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิล และการสะสมแต้มให้ของรางวัลและการให้ส่วนลด สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศแคนนาดา

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เดี๋ยวหาว่ายกแต่หลักการมาเล่า ถ้าไม่มีตัวอย่างเดี๋ยวหลักการกลายเป็นหลักลวง งั้นขอยกตัวอย่าง ประเทศที่สามารถจัดการขยะได้ดีสัก 2-3 ประเทศ และมีการใช้นวัตกรรมอย่างดี กฎหมายที่รองรับในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม เช่น

  • ราชอาณาจักรสวีเดน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนกับประชาชนอย่างเป็นระบบ บวก เทคโนโลยีในการจัดการ และ
  1. มีวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ “ของเสียเหลือศูนย์” หรือ Zero Waste
    ใช้หลักการจัดการขยะตามลำดับขั้น (Waste Hierachy คือ ลดจำนวนขยะ (reduce) นำกลับไปใช้ใหม่ (reuse) รีไซเคิล (recycle) นำไปผลิตเป็นพลังงานเมื่อไม่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก (recover energy)
  2. เน้นมีจิตสำนึกต่อสวนรวม โดยการปลูกฝังให้แยกขยะออกเป็นปะเภททำให้ง่ายต่อการแปรรูปเป็น RDF
  3. การสานพลังความร่วมมือภาครัฐ- เอกชน- ประชาชน อย่างเป็นระบบระหว่างท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน บริษัทและหน่วยงาน
  4. การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ โดย Global Innovation Index
  • ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
  1. การจัดเก็บขยะ เป็นภารกิจของท้องถิ่นและหน่วยงาน Danish Environment Protection Agency
  • กระทรวงสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และนโยบายการจำกัดขยะ ได้แก่ มาตรการป้องกันการสูญเสียทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาจาการจัดการขยะ 
  • ป้องกันไม่ให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจากสาเหตุการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • คำนึงถึงประสิทธิภาพและต้นทุนในการจัดการและระบบการจัดขยะมูลฝอย
  1. การใช้เครื่องมือทางกฎหมายแลเศรษฐศาสตร์มาสนับสนุน เช่น กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับขยะไว้หลายรูปแบบ  เช่น ฝังจะสูงกว่าเผา  หรือ การสนับสนุนลดปริมาณขยะ มีระบบภาษี เรียกว่า ภาษีสีเขียว หรือ Green tax
  • ประเทศฟินแลนด์
  1. กำหนดยุทธศาสตร์ตามกรอบข้อตกลงของสหภาพยุโรปและสอดคล้องกับตำประกาศโยฮันเนสเบอร์ก (The Johannesburg Declaration) ป 2006
  2. กระทรวงสิ่งแวดล้อมกำหนดนโยบาย ทำแผนการจัดการขยะมูลฝอย พัฒนาระบบสาธารณูปโภคการจัดการขยะ และใช้มาตรการสนับสนุน เช่น กฎหมายปี 2004 กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าคำนึงถึงวัตถุดิบที่จะนำมาผลิต ต้องนำมามาใช้ใหม่ได้ หรือต้องไม่เกิดมลพิษในกระบวนการกำจัดซากสินค้า หรือ กฎหมายภาษีขยะมลฝอย (Waste Tax Act)
  3. มีศูนย์ติดตามการจัดการสิ่งแวดล้อมกระจายทั่วประเทศ
  4. ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดการเก็บรวบรวม และขนส่งขยะมูลฝอย นำมามาใช้ใหม่ สามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้
  • ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
  1. หลักการคุ้มครองคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Protection of man and the environment)  ได้แก่
  • การใช้ทรัพยากรธรรมชาติหมุนเวียน 
  • การใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปต้องมีขอบเขตจำกัดและหามาทดแทนได้
  • การปล่อยของเสียในรูปสสารหรือพลังงานต้องไม่เกิดขีดของระบบนิเวศน์ที่จะรองรับ
  1. ออกกฎหมายส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยแบบปิดวงและการกำจัดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมปริมาณ และนำกลับมาใช้ซ้ำ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นพลังงาน

สรุปง่ายๆ ว่า การบริหารจัดการขยะ  ต้องมีการร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนด้วยกัน คือ

แล้วประเทศไทยแลนด์ที่จะเข้าสู่ยุค 4.0 จะเป็นเช่นไรหน่อ.......ถึงแม้ว่า......ขยะจะเป็นวาระแห่งชาติของประเทศไทยก็ตามเถอะ....แต่.... “ทำไร ตามใจ คือไทยแท้...” ว่าแล้ว....ก็ชวนเพื่อนกลับดีกว่า......ไม่อยากเห็นขยะสังคม....ที่ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้มั่วหมอง

เอาเป็นว่าก่อนจบขอเสนอทางออกของการจัดการขยะในฐานะ “วาระแห่งใจ” ไว้นิดหน่อยดังนี้นะ

.......รัฐบาล      ต้อง     ออกกฎหมายและควบคุม.......

.......ภาคเอกชน  ต้องมาลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยี........

.......ภาคท้องถิ่น  ต้องเป็นแม่งานและขับเคลื่อนในพื้นที่จัดเก็บให้ดี........

.......ภาคประชาชน ต้องร่วมด้วยช่วยกันตรวจสอบและทำอย่างเคร่งครัด.......

 

จริงๆ ก็คือหลักประชารัฐที่ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ นี่เอง แม้ว่าหลักการจะดีแค่ไหน หากไม่ลงมือสักที จะสำเร็จได้อย่างไร

เอาเป็นว่า เรื่องขยะในบ้านเราก็ใช่ว่า จะเลวร้ายเกินไป ยังคงมีวิวัฒนาการ การจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง

ไว้เล่าสู่ฟังวันหลังละกัน...บ๊าย  บาย......

                  

ที่มา       :  ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

            :  สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

            :  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)




[1]โครงการ อ่างเก็บน้ำคลองระบม สถานที่ตั้งตำบล ทุ่งพระยา อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา เป็นชลประทาน  คลองแก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาน้ำ ทำให้สามารถทำนาปลูกข้าว ปลุกพืชเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้น และผลพวงของโครงการคือได้แหล่งท่องเที่ยวด้วย

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube