บนถนนหนทางสายมิตรภาพ ใครที่ใช้ถนนเส้นนี้ไปอีสานต้องผ่านแน่นอนและมองเห็นน้ำในเขื่อนลำตะคอง สร้างความตื่นตา.....ตื่นใจให้กับคนที่ไม่เคยเห็นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะชาวต่างชาติ......โอ้ว...โน พร้อมกับคำถามว่า “What is the River?” เล่นเอา ตอบไม่ทันเลย...ต้องใช้เวลาในการทบทวนหาคำตอบโดยปัจจุบันทันด่วน.....ตัดสินใจแวะเข้าไปเที่ยวซะเลย....
โชคดีจังวันนี้....ได้เข้าไปเรือนรับรองของเขื่อน มีส่วนจัดนิทรรศการภาพในหลวงรัชกาลที่ ๙ ครั้งที่เสด็จเขื่อนลำตะคองไว้ให้เข้าชมด้วย และแล้ว......เราก็ได้เจอกับคุณสุระพันธ์ อินทรา ตำแหน่ง ฝสบ.คบ.๑ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง สำนักชลประทานที่ ๘ ได้เล่าให้ฟังว่า
“ในอดีตเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๐ เวลา ๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงนั่งเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จเยี่ยมชมเขื่อนลำตะคอง และทรงประทับบ้านพักรับรองบนเขื่อน ด้วยนะ...”
สิ่งที่เห็นฉันเห็นในเรือนรับรองจนต้องขออนุญาต คุณสุระพันธ์ หยิบกล้องขึ้นมาถ่ายภาพซ้ำๆ คือภาพทรงลงจากเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
และภาพที่พระองค์ทรงขับรถด้วยพระองค์เอง เพื่อเสด็จไปยังเรือนรับรองของชลประทาน
เราได้เห็นภาพทรงงานของพระบาทสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำให้กับเกษตรกรโดยการสร้างระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวเมืองโคราช ซึ่งขื่อนลำตะคอง อยู่ที่ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๗ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๒ โดยกรมชลประทาน ได้มีโครงการทดและส่งน้ำลำตะคอง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกทั้ง ๒ ฝั่งลำตะคอง ในพื้นที่อำเภอเมือง กับบางส่วนของอำเภอขามทะเลสอ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๖ แห่ง ที่กรมชลประทานได้เลือกไว้ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ
เราเดินไปดูทุกๆ ห้องของเรือนรับรอง จนกระทั่งมาถึงห้องสุดท้าย คือ ห้องทรงงานและพักผ่อน ต้องบอกว่า สุดยอดของความงามแห่งลำน้ำลำตะคอง!!!!! ภาพที่เห็นคือทัศนียภาพของน้ำใสในลำตะคองตัดกับ สีเขียวของต้นไม้ ผืนน้ำสะท้อนแดดระยิบระยับ ยิ่งมองยิ่งสดชื่น อีกฝากฟ้าฝั่งทอดมองไกลไปอีกนิด เป็นทิวเขาทางรถไฟที่มุ่งหน้าไปยังสถานีคลองไผ่ และพระประธานปางนาคปรก ที่ทางบริษัท ซีพี ไปสร้างไว้ ฉันคิดในใจว่า นี่!! อีกหนึ่งสถานที่ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของเขาอีกแล้วหรือนี่!!!!
เอ๊ะ! พื้นที่ในสมัยก่อนตรงนี้เป็นอย่างไรหนอ....นี่คือ! รูปภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี ๒๔๙๖ เปรียบเทียบกับปี ๒๕๕๙ ของลุ่มน้ำลำตะคองที่มาจากเขื่อนลำตะคอง
ที่มา : นราธิป ทับทัน, ๒๕๖๐ (ปรับปรุงจากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร)
ก่อนการสร้างเขื่อนก็เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาส เนื่องจากก่อนหน้านั้นเกิดน้ำท่วมหนักซ้ำซากและมีขนาดพื้นที่กว้างมากรวมทั้งการทำการเกษตรมีปัญหาเรื่องน้ำ จนต้องสร้างเขื่อนลำตะคองนี้ขึ้นมา แต่!!!!!! ประโยชน์ที่สร้างเขื่อนลำตะคองล่ะ??? มีแค่นี้จริงหรอ.......
ที่มา : pantip.com
อ๊ะ อ๊ะ......ไหนลองดูบริเวณพื้นที่เพิ่มอีกหน่อย....เราเห็นมีโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ[1] ซึ่งต้องมีอ่างเก็บน้ำจำนวน ๒ อ่างด้วยกัน คือ อ่างเก็บน้ำ (อ่างบน)[2] และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง(อ่างล่าง)[3] หรือเขื่อนลำตะคอง วัตถุประสงค์ในการสร้างเขื่อนเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ทำการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำดิบในการทำน้ำประปาสีคิ้ว และคนเมืองโคราชบางส่วน แต่!!!! คนในพื้นที่บอกว่า เพื่อห้างสรรพสินค้าและโรงงานเท่านั้น!!!!! ชาวบ้านไม่ได้ใช้น้ำเต็ม ๑๐๐% !!!!!
แต่การเมื่อสร้างแล้ว.......มันก็คือ ทุนดั้งเดิมของชุมชนใน ๓ ก้อน[4]ที่มีอยู่และเป็นสารตั้งต้นในการจะบริหารจัดการแหล่งน้ำ แหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของชุมชนต่อไป.....ขึ้นมาบนเขายายเที่ยงใต้แล้วสิ่งที่เห็นคือ อ่างเก็บน้ำบน เห็นแล้วตะลึง ตึ่งๆๆๆ มันใหญ่มาก.......
อ่างเก็บน้ำที่สูบไว้ตอนบน
วิวข้างบนจากอ่างบนที่มองเห็นน้ำในเขื่อนละคอง
เราได้พูดคุยกับแม่ค้าขายกาแฟชาวมุสลิม หาเรื่องสนทนาว่า ทำไมถึงได้มาขายกาแฟที่นี่ได้? เธอบอกว่า อ่างเก็บน้ำอยู่ในหมู่บ้านเขายายเที่ยงใต้ ตำบลคลองไผ่ ซึ่งทางนายก อบต.คลองไผ่ นายมุตตอฟาร์ ศรีรานี และกลุ่มแม่บ้านคลองไผ่ ได้มีแนวคิดอยากให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน จึงพยายามให้ชาวบ้านเป็นผู้ประกอบการอยู่ในพื้นที่มาพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน โดยมีหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุน ได้แก่ กองทุนรอบโรงไฟฟ้า กฟผ. หน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ และสำนักงานชลประทานที่ ๘ ได้ร่วมมือกัน ในการพยายามสร้างเศรษฐกิจท่องเที่ยวให้เกิดในชุมชนเขายายเที่ยงใต้ อาจจะเข้าระบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในยุคเริ่มต้นอาจเป็นไปได้!!!!!!!
นั่งทบทวนตัวเองพร้อมกับดูดกาแฟเย็น........สถานที่ใกล้เคียงที่พ่อเคยเสด็จมาพัฒนาแหล่งน้ำ ย่อมกลายเป็นแหล่งที่พัฒนาต่อยอดไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร แหล่งน้ำอุปโภคและบริโภค จนกลายเป็นการสร้างเม็ดเงินในเศรษฐกิจในชุมชน ซึ่งถือได้ว่า เป็นใบเบิกทางในการพัฒนาแบบ ๓ ก้อนเส้า ที่จะไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตได้
ที่มาข้อมูล :
[1] โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ลักษณะโครงการที่สําคัญประกอบด้วย โรงไฟฟ้าใต้ดิน อ่างพักน้ำบนเขา อ่างเก็บน้ำตอนล่าง (อ่างเก็บน้ําลําตะคองเดิม) อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างพักน้ำเข้าโรงไฟฟ้า อุโมงค์ท้ายน้ําจากโรงไฟฟ้าสู่อ่างเก็บน้ำตอนล่าง เพื่อเพิ่มกําลังผลิตให้ระบบ ในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (Peak Load) ของแต่ละวัน ได้สูงถึง 1,000 เมกะวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณปีละ 400 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
[2] ลักษณะอ่างเก็บน้ำเป็นหินทิ้ง ดาดผิวด้วยแอสฟัลท์ เพื่อป้องกันน้ำซึมผ่านออกจากตัวอ่าง สันขอบอ่างสูง ๖๐ เมตร หินหินทิ้งที่สร้างเป็นตัวอ่างมีปริมาตร ๖.๒ ล้าน ลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำมีระดับความสูง ๖๖๐ เมตร รทก. สามารถเก็บกักน้ำได้๑๐.๓ ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวน้ำ ๐.๓๔ ตารางกิโลเมตร โดยสูบน้ำจากเขื่อนลำตะคอง (อ่างล่าง) ขึ้นไปใช้งาน
[3] เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับนำไปใช้เพื่อการชลประทาน การอุปโภค - บริโภค การอุตสาหกรรม และการประปาสำหรับเมืองนครราชสีมา มีความจุใช้งาน ๒๙๐ ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๒๕๓ ล้าน ลบ.ม. โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสูงสุดปีละ ๔๙๕ ล้าน ลบ.ม. และต่ำสุดปีละ ๖๖ ล้าน ลบ.ม.