“กว่าจะเป็น ต้นไม้ยืนต้น
สูงหยัดยืน ใหญ่โตงดงาม
เนิ่นและนาน ที่สั่งสม เป็นร่มเงา
ให้ดอกงาม ยามที่คน นั้นต้องการ...คือ เขาใหญ่
คือ เขาใหญ่ [1]ถิ่นไพร พนาถิ่นสัตว์สา ร่าเริง ล่องลอย มีเสรี
มีเกสร ร่อนความงดงาม ตามความฝัน...”
จากบทเพลงเขาใหญ่ของกวีศรีชาวไร “พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ” แต่งเองร้องเอง บาดลึกถึงความรู้สึกยิ่งนัก ภาพในเพลงฉายชัดความงดงามของเขาใหญ่ในวันวาน เป็นภาพงามในความทรงจำร่วมของผู้คนนับร้อย นับล้าน
ใครที่ไม่รู้จักเขาใหญ่.......บ้าง? เอ่ยชื่อนี้ สถานประกอบการหลายแห่งรู้จักเป็นอย่างดี!!!
ปรากฏการณ์ช้างป่านั่งบนหน้ารถบ้าง หรือไม่ยอมให้รถผ่านทางไปได้ แต่ ! ยังมีคลิปที่หนุ่มขี่รถจักรยานยนต์กลัวช้างป่าทำร้ายต้องไหว้ของชีวิตก็ยังมี !!!!!! มันเกิดอะไรขึ้นในเขตที่ได้ชื่อว่าเป็น อุทยานแห่งชาติและเป็นมรดกโลก
ที่มาวีดีโอ : www.youtube.com
จะมีสักกี่คนที่เข้าใจว่า เขาใหญ่ คือ อุทยานแห่งชาติ[2](National Park) เพื่อเป็นบ้านของสัตว์ป่า หรือการรักษาป่าไม้ธรรมชาติให้คงอยู่ไว้ แต่ทุกวันนี้เขาใหญ่กลายเป็นขุมทองของสถานประกอบการที่เห็นว่าเป็นแหล่งทำเงิน กำไร จากการขายธรรมชาติ โดยที่ตนเองไม่ได้ปลูกป่าแม้แต่ต้นเดียว!!!!! แต่ฉกฉวยเอามาธรรมชาติ อีกหลายท่านก็บอกว่า ฉัน คือ นักท่องเที่ยวที่เสพธรรมชาติ โดยคิดว่า ฉันท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ[3](Ecotourism) ตามแบบฉบับวิชาการเลย!!!!!!
แต่ความเศร้าใจที่ได้เห็นตามท้องถนนธนะรัชต์ แยกจากถนนมิตรภาพสู่เส้นทางขึ้นไปเขาใหญ่ มันแตกต่างจากอดีตเมื่อ 15 ปีทีแล้ว เพราะ พ.ศ.กระโน้น มีแต่ป่าและป่าเท่านั้น แต่ในขณะนี้ !!! น่าสะเทือนใจมากกว่า !!! มีแต่ทางเข้าโรงแรมหรือไม่ก็รีสอร์ต และร้านอาหารอย่างดีสไตลส์ตะวันตกเท่านั้น เป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีตอย่างดี แตกต่างกับทางเข้าหมู่บ้านของชาวบ้านมีแต่ทางสายฝุ่น??? และขยะที่มาจากนักท่องเที่ยว
คำบอกเล่าจากนายอำเภอ นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว เมื่อปี 2558 ว่า มีสถานประกอบการ โรงแรม รีสอร์ต โฮมสเตย์ ร้านอาหาร ประมาณ 3,000 กว่าแห่งที่อยู่ในบริเวณถนนธนะรัชต์ก่อนประตูทางขึ้นเขาใหญ่ที่ผิดกฎหมายการรุกล้ำป่าเขาใหญ่และไม่สามารถที่จะเก็บภาษีจากการดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้
แต่สิ่งที่สร้างความปวดร้าวแห่งหัวใจของป่า คือ การจัดคอนเสิร์ตที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหรือตีนเขาใหญ่ที่สร้างกระแสคนรักดนตรี โดยเป็นความเห็นแก่ตัวและขาดจิตสำนึกในการเข้าใจธรรมชาติ แต่เขาเหล่านั้นต้องการเข้าถึงธรรมชาติ ลืมไปว่า! เขาได้ฆ่าธรรมชาติและทำลายสิ่งเหล่านี้ไปแล้วด้วยการทิ้งขยะ การเหยียบย้ำ การรบกวนชีวิตของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ที่นี่!!! แถมท้ายด้วยเขาใหญ่มีแม้กระทั่งการสร้างสนามแข่งรถ ซึ่งเป็นพื้นที่ทับป่าเขาใหญ่อีกด้วย!!!!!!!
ที่มาภาพ : topicstock.pantip.com
เอากันชัดๆ อีกที่ว่า ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกว่าอย่างไรกันบ้าง
กระทั่งปี พ.ศ.2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
(1) เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
(2) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(3) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(4) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(5) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
(6) มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ
(1) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
(2) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
(3) เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
(4) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
หากท่านที่จะคิดไปท่องเที่ยวเขาใหญ่ มีมุมที่น่าสนใจของ “หมอภัทรพล มณีอ่อน” คุณหมอสุดหล่อยอดนักอนุรักษ์ ที่พาทีมเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว คอยต้อนฝูงช้างให้กลับเข้าป่า ในเวลาที่ช้างหลงมาเดินเล่นบนถนนและเป็นหมอรักษาสัตว์ป่าคนแรกของประเทศไทยว่า
“ขอความร่วมมือปฏิบัติตามข้อระเบียบและกฎหมาย คือ 4 ม. ไม่ขับรถเร็ว จำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กม.ต่อชั่วโมง ไม่ส่งเสียงดัง ไม่ทิ้งขยะ และไม่ให้อาหารสัตว์ หากทำไม่ได้ทั้ง 4 ข้อ ทางอุทยานของแค่ 1 ม. คือ ไม่ต้องมา !!!!!!! อันนี้แหละสุดยอดครับผม”
อยากเห็นเขาใหญ่ฟื้นคืนเหมือนในรอยจำ หรือยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในวันนี้ คำตอบอยู่ที่หัวใจทุกคน
แต่ใจฉันนั้นมันโหยหาวันวานของเขาใหญ่เสมอ...
อ้างอิง : wikipedia.org
ที่มาข้อมูล : เพลงเขาใหญ่ แต่งโดยนายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
อ่านข่าวต่อได้ที่ : http://www.thairath.co.th/content/554988
[1] อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง ได้แก่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง กินพื้นที่อยู่ใน 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น ผืนป่าตะวันออก ซึ่งเปรียบเทียบกับผืนป่าตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก และรอบๆ
[2] อุทยานแห่งชาติ (National Park) หมายถึง พื้นที่ที่สงวนไว้ เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะ ป่าไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ ธรรมชาติที่สวยงาม และมหัศจรรย์อันเป็นที่ตรึงตาตรึงใจแก่ผู้พบเห็นให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกให้ ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไปและถูกใช้ไปในทางที่ผิด เพื่อรักษาสมบัติของธรรมชาติไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง ๆ ได้ชมได้ศึกษา ค้นคว้าธรรมชาตินั้น ๆ ต่อไป
[3] การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism)