เมื่อทานตะวันบาน หน้าร้านสะดวกซื้อ CSR หรือไม่ CSV หรือเปล่า


หน้าหนาวมาเยือนแล้ว หลายคนตั้งหน้าตั้งตารอสัมผัสอากาศเย็นๆ หนาวๆ ขับรถไปตามถนนสายมิตรภาพ.......จอดรถเข้าห้องน้ำแป๊บหนึ่ง!  บวกกับท้องร้องจ๊อกๆ ด้วยความคุ้นชิน จึงเดินเข้าร้านสะดวกซื้อเพื่อหาอะไรกินหน่อย  ...แต่บังเอิญก่อนเข้ารับความฉ่ำเย็นจากแอร์ข้างในร้าน กลับสะดุดตาทานตะวันที่กำลังยิ้มแฉ่งใส่แดดเปรี้ยง!!! ที่สวนริมเขา สระบุรี

Description: C:\Users\user\Desktop\DCIM\Camera\2016-12-23 09.51.34.jpg

เราลองนึกทบทวนคำถามที่เป็นความจริงว่า

ใครที่ไม่เคยเป็นสาวกของร้านสะดวกซื้อตามปั้มน้ำมันบ้าง?

ไม่มีใครยกมือขึ้นเลย........ไม่ว่า .....จะเป็นเด็กๆ หรือไม่เว้นแต่คนหนุ่มสาว..........ที่ยังต้องเดินเข้าไปใช้บริการของร้านสะดวกซื้อของโดยที่ไม่รู้ว่า เป็นการส่งเสริมเพิ่มกำไรให้กับสถานประกอบการที่มีจำนวนร้านที่แยะที่สุดในประเทศไทย

ใครที่เคยคิดถึงผลกระทบที่เกิดจากร้านค้าเหล่านี้บ้าง ......หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง......การถูกกลืนกินของร้านโชว์ห่วยที่ลดน้อยลงไปทุกวัน.........ไม่แน่ในอนาคต.....อาจไม่เหลืออยู่เลย.......

เอ...แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน โชว์ห่วยที่สามารถยืนระยะอยู่ได้อาจกลายเป็นเสน่ห์ใหม่ เป็นการค้าบวกการท่องเที่ยว แถมด้วยกระแสอนุรักษ์วิถีชุมชน ใครจะไปรู้ เผลอๆ จะกลายเป็นโมเดลธุรกิจชุมชนที่เกิดจากกลิ่นอายของการอยากหวนคืนสู้รากเหง้าก็เป็นได้ 

มุมมองที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของชาวกรุงเทพหรือตามหัวเมืองใหญ่ต่างๆ วัยรุ่นหนุ่มสาวที่กำลังศึกษาเล่าเรียน มองเห็น 7-11 ที่ไหนเป็นต้องปรี่เข้าไปเชียวละ หลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ คือ มีดีมานด์เกิด ต้องมีซับไพลน์ตามมาแน่นอน

เถ้าแก่ในยุคใหม่ ก็ต้องลงทุน! เป็นคำตอบที่ไม่ต้องตั้งคำถาม เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง วัยรุ่นที่มองการณ์ไกล (เทรนด์ใหม่ รวยตั้งแต่อายุยังน้อย555+) เมื่อเขาค้นหาตัวเองเจอ โฟกัสชีวิตได้ชัดเจนในการทำธุรกิจ.....และควบคู่กับการเรียนที่จะทำธุรกิจ......สถาบันการศึกษาที่เป็นยักษ์ใหญ่ของสถานประกอบการทางธุรกิจอันดับต้นๆ ของเมืองไทย คงไม่พ้น! สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในเครือข่ายของซีพี จึงเป็นสถานที่สร้างนักบริหารจัดการร้านหรือเจ้าสัวน้อยเข้าสู่วงจรแห่งธุรกิจ เพราะเขาเรียนไปด้วยได้เงินไปด้วย โอกาสร่ำรวยจึงอยู่แค่เอื้อม

Description: C:\Users\user\Desktop\4a4b69980cac4c80a678e2e73770e558.jpg
ที่มาภาพ : www.wongnai.com

หากพูดถึงระบบการศึกษาในด้านอาชีพ ที่เรียกกันว่า การศึกษาระบบโรงเรียน-โรงงาน  หรือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี[1]  (Dual Vocational Training  หรือ DVT) เริ่มเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 โดยได้รับการบอกเล่าจากมาจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมันว่า การศึกษาระบบทวิภาคีเกิดขึ้นในประเทศไทยมานานแล้ว และยกตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดวิชาชีพแรก คือ  พยาบาล  เนื่องจากว่าต้องมีการเรียนทางทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อมกันได้ทั้งความรู้ การฝึกทักษะในวิชาชีพนั้นๆ หากแต่กรมอาชีวศึกษาได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดย บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ได้มอบโรงเรียนซีเมนต์ไทยอุปถัมภ์ ให้กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซีเมนต์ไทยอนุสรณ์  เพื่อเป็นวิทยาลัยต้นแบบ ทดลองจัดอาชีวศึกษาระบบโรงเรียน – โรงงาน โดยได้รับความเห็นชอบ และความช่วยเหลือทางวิชาการ จากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  แต่ปัจจุบันระบบการศึกษาทวิภาคีนี้ของภาครัฐที่ยังคงอยู่! แต่เหลือน้อยเต็มที่

เล่ามาถึงตรงนี้ เกิดคำถามขึ้นมาลอยๆ ในใจ ขออนุญาตคิดให้ฟังดังๆ นะ “ประเทศไทยมีระบบการศึกษาอาชีวศึกษาแต่ทำไมถึงหาคุณภาพไม่เจอ หรือแรงงานที่มีอยู่ไม่ได้มีทักษะตามที่โรงงานต้องการ !”

เอ๊ะ  เอ๊ะ !!!!  แล้วการทำธุรกิจ การบริหารงาน ในรูปแบบนี้ เรียกว่า การทำ CSR [2]หรือไม่  หรือเป็นการต่อยอดงาน CSV[3]  หากเป็นองค์กรหรือสถานประกอบการขนาดเล็กจะเลือกทำ CSR หรือ CSV เราลองหาความเหมือนและความต่างของ 2 คำนี้ คือ คือ คุณค่าที่องค์กรได้รับ โดยในบริบทของ CSR เป็นเรื่องของการยอมรับภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ชาวบ้านอาจมองว่าเป็นการบริจาคเพื่อสร้างภาพมากกว่า  ส่วนคุณค่าที่องค์กรได้รับในบริบทของ CSV จะเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งความสามารถในการสร้างผลกำไรระยะยาวหรือปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

แต่หากว่า อีกมุมมองหนึ่งที่ได้รับการสะท้อนจากพนักงานในร้านสะดวกซื้อว่า ได้ทั้งเรียน  ได้ทั้งงาน  ความก้าวหน้าอีกด้วย หากมองให้ลึกซึ้งเราอาจพบว่า  ทานตะวันที่บานหน้าร้านสะดวกซื้อ เปรียบเสมือนที่น้องๆ หันหน้าไปตามดวงอาทิตย์นั่นเอง!

Description: C:\Users\user\Desktop\2016-12-23 09.51.44.jpg


ขอบคุณ ที่มาข้อมูล www.thaicsr.com


[1]  คือ การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษา หรือสถาบันกับสถานประกอบการในเรื่อง การจัดหลักสูตร

การจัดการเรียนการสอน  การจัดการฝึกอาชีพ และการวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งเรียนในสถานศึกษาหรือสถาบัน  และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ

[2] Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในองค์กรและในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

[3] CSV เป็นการพัฒนาเชิงสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยรูปแบบทางธุรกิจ กล่าวคือ การสร้างคุณค่าร่วมต้องผนวกเข้ากับความสามารถในการแสวงหากำไร และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร โดยใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการในการสร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube