Stake. ที่กินไม่ได้


          Stake เป็นอาหารที่อร่อยมากของนักลงทุนที่กำลังหาพื้นที่ลงทุนเปรียบ บรรดากลุ่ม stakeholders ทั้ง  7 กลุ่มนั้น เราลองมาวิเคราะห์ ใครเป็นปรปักษ์ของแต่ละกลุ่มของ  stakeholders ที่เป็นศัตรูภายในตัวของมันเอง   บางท่านไม่อาจจะเข้าใจในรายละเอียดหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละโครงการให้ละเอียดอักสักครั้ง

          Stakeholders ทั้ง  7 ประกอบด้วย 1)ผู้ที่ได้รับผลกระทบ  2)หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3) หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบฯ  4)หน่วยงานราชการในระดับต่าง ๆ 5) องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น และระดับอุดมศึกษาและนักวิชาการอิสระ 6)สื่อมวลชน 7) ประชาชนทั่วไป

          เหตุบ้านการเมืองเทคโนโลยีที่ทั่วถึง แหล่งข้อมูลมีให้ค้นคว้ามากมาย เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่เป็นต้นกระตุ้นให้ทุกฝ่ายต้องหมุนตามโลกให้ทัน  มีตัวอย่างให้เห็นอยู่หลายกรณี เช่น บางโรงงานที่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จ แต่ยังไม่สามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงงานได้ เนื่องจากในการจัดทำร่าง EIA จะมีเฉพาะกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ถูกรับเชิญให้ไปร่วมในเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 (ค.1)  และเวทีทบทวนร่าง EIA หรือ เวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 2 (ค.2) เท่านั้น แต่ทางนายทุนอาจจะหลงลืมไปว่า ยังมีประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการรับข้อมูลของโรงงานได้เช่นกัน ควรใส่ใจความคิดเขาเหล่านั้นบ้าง แม้อาจจะดูเกินโควตาจำนวนหัวที่เข้าร่วมประชุมบ้าง ก็ต้องหาวิธีอย่างหนึ่งอย่างใดให้เขาเหล่านั้น ได้มีส่วนร่วมบ้างก็ยังดี

          ความยากง่ายของนายทุนที่จะวิเคราะห์หรือจะยอมจ่ายให้กับ Stake(holder) ชิ้นไหน นั้น จะต้องทำการบ้านอย่างหนักเลยทีเดียว หรือนายทุนอาจจะใช้ช่องทางนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนต่าง เพื่อให้การทำงานได้อย่างราบรื่นต่อไป ขึ้นอยู่กับทักษะในการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป

          มาดูว่า กำแพงหนา ด่านอรหันต์ที่ผู้ลงทุนควรต้องให้ความใส่ใจ เรื่องการให้ข้อมูล เพื่อทะลายกำแพงที่ว่า แปลงศัตรูให้กลายเป็นมิตรให้ได้ ด้วยการถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้บางครั้งต้องร่วมกันสะกดคำว่า win-win บ้างก็ตาม

          อันดับที่  1 คือ องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชนสถาบันการศึกษาฯ กลุ่มนี้ ขึ้นชื่อว่า เป็นกลุ่มที่มีความรู้ และมีนักวิชาการ ถ้าเรียกอย่างชาวบ้าน คือ กลุ่ม NGOs ที่มีแนวคิด และแนวปฏิบัติในการดำเนินการที่นายทุนเห็นว่า เป็นศัตรูหมายเลข 1 ในการต่อการการสร้างโรงงานเลยทีเดียว รวมทั้งเป็นกลุ่มที่มีทักษะ จิตวิทยาชุมชนที่สามารถจะเป็นผู้นำทางด้านความคิด การรวมตัวของชาวบ้าน และยังมีอิทธิพลในการเชิญชวน การให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ชี้แนะ แนวความความคิดแก่ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ก็คือ กลุ่มนี้แหละ แต่กลุ่มเคลื่อนไหวหรือกลุ่มที่จะต่อต้านนายทุนทั้งหลายมักจะใช้บทบาทของกลุ่ม Stakeholders ของประชาชนทั่วไปอีกบทบาทหนึ่งอีกด้วย

          อันดับที่ 2 คือ กลุ่มสื่อมวลชน  จะเป็นกลุ่มที่นายทุนจะต้องใช้ช่องทางในการช่วยเหลือในการดำเนินการต่อชุมชนได้เป็นอย่างดี หากจะมองอีกแง่มุมหนึ่ง นายทุนอาจใช้กลุ่ม Stake(holder) เป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการได้เช่นกัน

          อันดับที่ 3 คือ กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบสำหรับกลุ่มนี้จะมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Primary Stakeholders) เป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพล มีบทบาทโดยตรงต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานโดยตรง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง (Secondary Stakeholders) เป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลรองลงมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก หรือมีบทบาททางอ้อมต่อความสำเร็จ/ล้มเหลวในการดำเนินงาน สำหรับกลุ่มนี้ หากว่านายทุนสามารถต่อรองหรือสามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจนได้ รวมทั้งยังสามารถใช้ Stakeholders เป็นแกนนำชักชวนกลุ่มชาวบ้านให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโรงงานได้

          อีกกลุ่ม Stakeholders ที่เหลืออีก 3 กลุ่มที่จะขาดไม่ได้จะต้องเป็นหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่หน่วยงานนี้ทำหน้าที่ ได้แก่ บริษัทที่ปรึกษาที่สามารถจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถมีในอนุญาตในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ สามรถประเมินผลกระทบที่จะเกิดจากกการสร้างโรงงานตามสถานที่ตั้งทั้งกายภาพ ชีวภาพ รวมทั้งทางด้านสังคมอีกด้วย ส่วนใหญ่ Stakeholders กลุ่มนี้จะเป็นนายทุนที่ดำเนินการจัดจ้างให้ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบฯ อาจจะเป็นกลุ่มที่ต้องแยกออกจากกลุ่มอื่น  ถือว่าเป็นหน่วยงานทางราชการที่จะต้องทำหน้าที่ของตนเองโดยยึดหลักของ ธรรมาภิบาล (Governance)ในการดำเนินการและเป็นกลางมากที่สุด รวมถึงจะต้องพิจารณาคู่ขนานกับกระทรวงอื่น ๆ อีกด้วย
  • หน่วยงานราชการในระดับต่างๆ  ทั้งหน่วยงานของท้องถิ่นและหน่วยงานท้องที่เป็นหน่วยงานในพื้นที่ของการดำเนินโครงการในเขตรัศมีตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

          หลังจากที่พอทราบพื้นฐานความต้องการของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินโครงการแล้ว ท่านคิดว่า กลุ่มไหนที่ท่านจะต้องพิจารณาในการเชื่อมสัมพันธ์ หรือท่านเลือกที่จะดำเนินการเพื่อพิจารณาให้ทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานแห่งใหม่ของท่าน

          อีกอย่างที่นายทุนต้องต้องคำนึงถึง ว่า ในการแบ่ง Stakeholders หากปรุงให้ดี การให้น้ำหนักของการให้ข้อมูลในแต่ละกลุ่มที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มจะต้องมีวิธีการ  การเลือกสื่อให้เหมาะสมยิ่งเพิ่มความเข้าใจเนื้อหาของโครงการมากยิ่งขึ้นท่านว่าจริงไหม

          เพราะไม่ใช่ Stake.  ที่จะหากินง่าย ๆ ตาม Food Cord. ทั่วไป

          แต่นี่ คือ Stakeholders. จึงต้องใส่ใจในรายละเอียด ต้องบริหารให้เป็น แล้วจะเห็นผล โครงการท่านก็จะเดินได้ตาม Action Plan.

          อ้อ....!!!!!!

          อย่าลืมละ  ยิ่งโครงการยักษ์ใหญ่ Action Plan กับ Stakeholders. ทั้ง 7 ต้องมีเวลาพอสมควรไม่ใช่สามเดือนข้างหน้าจะตอกเสาเข็ม แล้วค่อยนึกถึง Stakeholders……นะเจ้านาย

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube