ทำไมต้อง ค.2


เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ทุกบริบทก็เปลี่ยนไป กับคำพูดที่ว่า “แค่มีทุนจะตั้งโรงงานที่ไหนก็ได้…” ทุกวันนี้คงใช้ไม่ได้แล้ว

 

          การลัดขั้นตอนในการสร้างโรงงาน ต้องผ่านด่านหินหลายชั้น ยิ่งทุกวันนี้โลกโซเชียล เป็นเสมือนเครื่องมือเฝ้าระวังทางสังคมได้อีกหนึ่งช่องทาง ต่อให้มีเงินเป็นตู้คอนเทนเนอร์ก็ไม่สามารถสร้างโรงงานได้ ถ้าไม่ได้รับฉันทานุมัติจากชาวชุมชน เพราะใบอนุญาตตามกติกาที่ได้มาด้วยพิธีกรรมทางเอกสาร เริ่มจะถึงช่องทางที่ตีบแคบลงเรื่อยๆ หลายโคงการพังครืนไม่เป็นท่า แม้จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะทำให้จีดีพีพุ่งพรวดพราดก็ตาม

          กระบวนการจัดทำร่าง EIA จึงมีความสำคัญยิ่ง และมีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ EIA คือ อะไร กระบวนการจัดทำร่างเป็นอย่างไร เรามาไขคำตอบไปพร้อมๆ กันครับ

          EIA ย่อมาจาก Environmental Impact Assessment หมายถึง “การวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการหรือกิจการประเภทต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมที่อาจจะมีผลกระทบต่อโครงการหรือกิจการนั้น ทั้งในทางบวกและทางลบ เพื่อเป็นการเตรียมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการหรือกิจการนั้นๆ” (กิจการหรือโครงการที่จะต้องทำ EIA จะได้นำมาเล่าสู่ฟังในโอกาสต่อไป)
 

          ฐานะนักพัฒนาโครงการ หรือแวดวงผู้จัดทำ EIA มีคำที่เรียกติดปากเสมอๆ “ค.1” “ค.2”

          ค.1 คือ การรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะมาสร้างโรงงานนะ พร้อมกันนั้นก็จะมีการนำเสนอมาตรการป้องกันทางด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานเบื้องต้น และเก็บข้อคำถามของชาวบ้านหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เท่านั้น  และเมื่อรอช่วงเวลาผ่านช่วงหนึ่ง เพื่อให้ทางโรงงานเก็บรวบรวมข้อมูล และนำไปศึกษาเพิ่มเติมเป็นที่เรียบร้อย ก็จะมีการกำหนดวันนำข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ในด้านต่างๆ กลับมานำเสนออีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเวทีนี้จะเรียกกันว่า ค.2

          ค.2 คืองานที่ค่อนข้างหิน เป็นการประชุมทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการรับฟังข้อคิดเห็นจากครั้งที่ 1 ซึ่งหากไม่ได้ทำการบ้านก่อน สิ่งที่ศึกษามาเป็นอย่างดี อาจโดนแรงเสียดทาน อาจโดนแรงต้านจนไม่สามารถเดินเวทีได้ ภาษามวยเรียกกันว่าล้มก่อนขึ้นชก

          ดังนั้น การสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในการทำ EIA มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนโครงการ แล้วผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stakeholder เป็นใครบ้าง ต้องสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ สร้างงานสัมพันธ์อย่างไรจึงจะได้รับความร่วมมือที่ดี ประเด็นนี้คือหัวใจหลักเลยก็ว่าได้

เรามาดูกันว่า Stakeholder  คือ ใครบ้าง ซึ่งในที่นี้จำแนก ได้ 7 กลุ่ม หลักๆ ดังนี้

1. กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผลกระทบที่ว่านี้มีทั้งฝั่งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ เป็นกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบในบริเวณที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะมีระยะห่างจากโรงงานที่ได้รับมลพิษต่างๆ ทางตรง ลักษณะของการทำงานกับกลุ่มคนเหล่านี้ จะต้องเข้าถึงจิตใจ การแสดงออกมาซึ่งความจริงใจที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายนี้ แม้กระทั่งการเอาอกเอาใจ แต่อาจต้องอยู่ในขอบเขตเหมาะสม แต่เป้าหมายที่แสวงหาโอกาสในการเกิดธุรกิจ ทางโรงงานต้องศึกษาผลลักษณะทางความสัมพันธ์ของคนเหล่านี้ในชุมชน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ที่มีต่อโรงงานให้เหมาะสม

2. กลุ่มหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เจ้าของโครงการ และนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการวิเคราะห์ฯ กลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นไปตามกลไกของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ฯ แต่ต้องยึดหลักการทำงานแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) รวมทั้งการให้ได้ซึ่งข้อมูลในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ฯ ด้วยเช่นกัน

3. กลุ่มหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบฯ ได้แก่ หน่วยงานที่พิจารณา และหน่วยงานผู้อนุญาต กลุ่มเป้าหมายนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องในการทำงานในชุมชน

4.กลุ่มหน่วยงานราชการในระดับต่างๆ ได้แก่ หน่วยงานส่วนกลาง ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายนี้จะเป็นกลุ่มที่ต้องใช้ทักษะการทำงานอย่างชาญฉลาด เพราะว่า หลักการทำงานของหน่วยงานราชการทั้งท้องที่และท้องถิ่น  มีการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองที่กำลังสูญเสีย แต่จะได้มาซึ่งการพัฒนาในภาพรวมของกลุ่มคนส่วนใหญ่และเสียประโยชน์เช่นกัน

5. กลุ่มองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น และระดับอุดมศึกษาและนักวิชาการอิสระ กลุ่มคนเหล่านี้ต้องอาศัยทักษะด้านการสื่อสารตามหลักการของความรู้ต่างๆ ตามหลักวิชาการ มุ่งเน้นการทำงานกับตัวหนังสือ การทำงานสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มนี้ต้องดูดี ตรง ยึดหลักการทำงานตามรัศมีของโครงการ เป้าหมายของการทำงานร่วมกับคนในกลุ่มนี้ หากมีหลักการทำงานของโครงการไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การใช้ทักษะความรู้ทางด้านนี้ต้องใช้ความอดทนในการทำงานกับกลุ่มคนเหล่านี้สู.มากถ้าโครงการที่ตั้งใจสร้างไม่ดีจริง กลุ่มอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ไม่เห็นด้วยในการจัดตั้ง สร้างโรงงานใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น

6. กลุ่มสื่อมวลชน ในแขนงต่างๆ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค การทำงานที่สะท้อนออกมาให้เห็นส่วนใหญ่ ผู้บริหารต้องการใช้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นสะพานในการเผยแพร่ทางสื่อให้เท่านั้น แต่ การทำงานในภาคชุมชน เพียงเป็นการสร้างฐานให้เป็นไปตามกระบวนการของ EIA ว่าอาจจะไม่มีมีอยู่ในพื้นที่

7. กลุ่มประชาชนทั่วไป คือ สาธารณชน ที่มีความต้องการและสนใจโครงการ จะมีบทบาทใน ฐานะผู้สังเกตการณ์ กลุ่มนี้ จะเป็นใครก็ได้ที่สนใจในโครงการนี้

          ในฐานะนักบริหารที่อยากเข้าไปพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดสร้างโรงงาน จะพบว่า การจะต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับ Stakeholders ทั้ง 7 กลุ่มนั้น ท่านจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเจรจา การเข้าอกเข้าใจ เป็นกลุ่มๆ ในการพูดคุยและทำความเข้าใจ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่าง “จริงใจ โปร่งใส ชอบธรรม ชอบใจ” ถ้าอยากสร้างโรงงานต้องเข้าใจกลุ่ม Stakeholders ทั้ง 7

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube