Case Study : Shared Value Initiative Thailand Project กรณี การจัดการน้ำเพื่อชาวไร่อ้อยบริเวณรอบโรงงานน้ำตาลมิตรผลด่านช้าง


Case Study : Shared Value Initiative Thailand Project

กรณี การจัดการน้ำเพื่อชาวไร่อ้อยบริเวณรอบโรงงานน้ำตาลมิตรผลด่านช้าง 

ดร.สุนทร คุณชัยมัง / วีระ นิจไตรรัตน์ /ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

บริษัท Expert Aspect International จำกัด : Shared Value Initiative Affiliate in Thailand & CLMV

ความเป็นมา

บ้านแจงงาม ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนที่อยู่ในรัศมีของการทำงานด้านตามความรับผิดชอบต่อสังคม และตามรัศมี5 กิโลเมตรของการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA) ของโรงงานน้ำตาลมิตรผล ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จ.สุพรรณบุรีเช่นกัน

โรงงานน้ำตาลมิตรผล มีปรัชญาที่ยึดมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)โดยมีงาน กิจกรรม และโครงการที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างในพื้นที่นี้ก็มี “โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน - ตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา”

พื้นที่โดยรอบโรงงานน้ำตาลมิตรผล เป็นที่ราบลุ่ม ประชากรที่อยู่ละแวกนี้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อยโดยพึ่งพาน้ำฝนตามธรรมชาติในขณะเดียวกัน กรมชลประทาน ก็ได้สร้าง “เขื่อนกระเสียว” ขึ้นในปี 2524 ซึ่งทำให้เกษตรกรเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมตามธรรมชาติมาเป็นเกษตรกรรมเขตชลประทาน และเมื่อโรงน้ำตาลมิตรผลย้ายจากจังหวัดราชบุรีมาตั้งที่อำเภอด่านช้างในปี 2533 ก็ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยมากขึ้นถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่การเกษตร พื้นที่ที่เหลือเกษตรกร จะทำนาปลูกข้าวสำหรับการบริโภคในครัวเรือน และพืชตามฤดูกาลอื่นๆ

แม้ว่าในพื้นที่จะมีเขื่อนกระเสียว ซึ่งเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร มีกรมชลประทานทำหน้าที่จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรให้พื้นที่ที่อยู่ท้ายน้ำแล้วก็ตาม แต่ไม่ครอบคลุมมีพื้นที่รับผิดชอบที่มากถึง 130,000 ไร่ ครอบคลุมไปถึงอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานีดังนั้น ในปีที่น้ำแล้ง จึงมีต่อการปลูกอ้อย และเป็นปัญหาสำคัญของโรงงานน้ำตาล ตามลำดับ

โรงงานน้ำตาลมิตรผล ได้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อนำน้ำไปใช้ในการผลิตน้ำตาลของโรงงานและบำบัดน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตให้นำกลับไปใช้ในไร่อ้อยของโรงงาน แจกจ่ายไปยังพื้นที่ไร่อ้อยของบริษัทและไร่อ้อยของเกษตรกรที่อยู่ใกล้เคียงแต่ยังไม่สามารถกระจายออกไปยังพื้นที่ห่างไกลได้ นอกจากนี้ เกษตรกร ยังนิยมขุดบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลมาใช้ในไร่อ้อยซึ่งเมื่อมีการขุดบ่อมากขึ้น ก็จะทำให้การหาน้ำทำได้ยากและเกิดโพรงใต้ดินทำให้เกิดดินทรุดตามมาหน่วยงานภาครัฐจึงไม่ให้การสนับสนุน

การจัดองค์กร

ฝ่ายโรงงานน้ำตาลและเกษตรกรชาวไร่อ้อยจึงทำให้เกิดความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยจัดตั้ง “โครงการบริหารจัดการน้ำ”  โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่มาร่วมโครงการต่างมีประสบการณ์ในการจัดตั้ง “กลุ่มบริหารจัดการน้ำ” และจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” ขนาดเล็กในตำบลแจงงามมาก่อน โดยมีสมาชิก30 คน

การดำเนินกิจการ

มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากลำห้วยธรรมชาติที่เชื่อมต่อกับเขื่อนกระเสียว แล้ววางท่อเพื่อลำเลียงน้ำไปยังพื้นที่ไร่อ้อยของสมาชิก พร้อมกับตั้งมิเตอร์ในพื้นที่จุดแยกเข้าไร่ของสมาชิก เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บค่าไฟฟ้าเงินที่เรียกเก็บมาก็จะนำไปใช้ซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำและบำรุงท่อน้ำ ใช้จ่ายเป็นค่าแรงสำหรับผู้ดูแลระบบการสูบน้ำ ฯลฯ การจัดการดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในไร่อ้อยได้ระดับหนึ่ง ไม่สามารถขยายขนาดของพื้นที่การบริการได้เพราะมีข้อจำกัดเรื่องความสามารถของเครื่องสูบน้ำเป็นเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก

ความร่วมมือกับโรงงานน้ำตาล จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการขยายความสามารถของการจัดการ โดยจัดตั้งเป็นโครงการ “การบริหารจัดการน้ำเพื่อชาวไร่อ้อยบริเวณรอบโรงงานน้ำตาลมิตรผลด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี”ขึ้นพร้อมกันนั้น ก็ได้ประสานความร่วมมือกับกรมชลประทานที่มีหน้าที่ดูแลการจัดการน้ำเขื่อนกระเสียว ขอใช้น้ำจากเขื่อนอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารเขื่อนกระเสียว ก็ได้อนุญาตให้ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแจงงาม (ผู้ใช้น้ำบ้านแจงงาม) เข้าร่วมเป็นกรรมการจัดการน้ำในเขื่อนด้วย

การร่วมบริหารจัดการน้ำเพื่อปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อย นี้ ฝ่ายโรงงานน้ำตาล นั้น เท่ากับว่าโรงงานน้ำตาลได้สร้างความมั่นคงเรื่องปริมาณและคุณภาพของอ้อย ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่อาจลดลงจากปัญหาของการขาดแคลนน้ำ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการแข่งขันด้านราคาซื้อขายอ้อยหรือการแย่งการซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง

ดังนั้น การสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจัดการน้ำแจงงามโรงงานน้ำตาลมิตรผลจึงให้ความสำคัญมาก โดยจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อรับผิดชอบงานการใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานในโครงการนี้โดยมีการวางเป้าหมายการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,700 ไร่ โดยมีเป้าหมายความสามารถในการผลิตอ้อยจากเดิม ที่ผลิตได้ 10 ตัน/ปี/ไร่ให้เพิ่มเป็น15 ตัน/ปี/ไร่การปรับปรุงงานตามโครงการนี้ จะใช้งบประมาณทั้งสิ้นราว 13 ล้านบาท โดยฝ่ายโรงงานเป็นผู้ลงทุนด้วยงบประมาณ 10 ล้านบาท สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่และวางท่อไปยังพื้นที่ของสมาชิกในโครงการ โดยสมาชิกจะขุดสระไว้รองรับน้ำ ขนาดของสระเก็บน้ำของชาวไร่อ้อย จะขึ้นกับขนาดของไร่อ้อยส่วนอีก 3 ล้านบาทสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเพื่อการจัดการน้ำ จะสมทบ

ปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2559)มีสมาชิกในโครงการนี้แล้ว60 คน มีพื้นที่รวมกันประมาณ2,500 ไร่ โครงการดังกล่าวดำเนินการไปได้แล้วร้อยละ 60 ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และการวางท่อไปยังไร่ของสมาชิกและการเข้าร่วมเป็นผู้ใช้น้ำนั้น กรมชลประทานก็ได้อนุญาตให้ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจเข้าร่วมเป็นกรรมการจัดการน้ำแล้ว

Results Expectation

Sugarcane grower Benefit

-          พื้นที่โครงการ                                              2,700 ไร่

-          สมมติฐานราคาอ้อย 1,000 บาท/ตัน

-          ก่อนโครงการ

o   มีความสามารถในการผลิต/ไร่                   10 ตัน

o   มีความสามารถสร้างรายได้                      27 ล้านบาทต่อปี

o   พื้นที่ที่ไม่บริหารจัดการน้ำ 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ได้เพียง 10,000 บาท

-          หลังโครงการ

o   มีความสามารถในการผลิต/ไร่                   15ตัน

o   มีความสามารถสร้างรายได้                      40.5ล้านบาทต่อปี

o   พื้นที่ที่มีบริหารจัดการน้ำ 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ได้ถึง15,000 บาท

-          กล่าวโดยสรุป

การดำเนินงานตามโครงการนี้ จะทำให้ชาวไร่อ้อยเพิ่มรายได้จากเดิม 50 % พร้อมกับสามารถจะคืนทุนที่ร่วมลงทุนไปสมทบจำนวน 3 ล้านบาท ซึ่งคำนวณต่อไร่แล้วจะตกประมาณ 1,200 บาท ได้ในปีแรกของการเก็บเกี่ยว

Business Benefit

                           -          ก่อนโครงการ

o   โรงงานมีอ้อยเข้าหีบต่อปี                        27,000 ตัน

o   ต้องจ่ายค่าการตลาดเพื่อรักษาลูกค้า           13.5 ล้านบาท/ปี (สมมติราคาค่าการตลาด 50 บาท/ตัน)

-          หลังโครงการ

o   โรงงานมีอ้อยเข้าหีบต่อปี                        40,500 ตัน

o   ลดความจำเป็นที่จะต้องจ่ายรักษาค่าการตลาดเพราะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม + ความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการร่วมงานจัดการระบบน้ำ

-          กล่าวโดยสรุป

การดำเนินงานตามโครงการนี้ จะทำโรงงานสามารถเพิ่มวัตถุดิบขึ้นจากการลงทุนระบบน้ำใหม่ด้วยเงินลงทุน 10 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับค่ารักษาการตลาดเพื่อปกป้องการแย่งชิงอ้อย ก็สามารถจะยุติการดำเนินงานดังกล่าวลงไป พร้อมเริ่มต้นการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ของการรักษาฐานชาวไร่อ้อยคู่สัญญาจากการร่วมพัฒนาระบบน้ำร่วมกัน

การทำงานในโครงการนี้ ยังสะท้อนความสำเร็จ ความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาด้วยความร่วมมือระหว่างภาคส่วน (Cross – Sector Collaboration)3 ภาคส่วน ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนเพื่อการจัดการน้ำบ้านแจงงาม (ภาคชุมชน) โรงงานน้ำตาลมิตรผล (ภาคเอกชน) และกรมชลประทาน (ภาครัฐ) ที่ร่วมกันจัดการระบบน้ำเพื่อการเกษตร และสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจต่อชุมชนให้มีรายได้ 40 ล้านต่อปีโดยประมาณ นอกจากนี้ ยังจะสามารถอธิบายลักษณะความร่วมมือข้างต้นเป็นไปตามกระบวนการ “ประชา - รัฐ” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกมิติหนึ่งด้วย

 

................................

22 มีนาคม 2559

 

   

 

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube