เวิร์คชอปปลดหนี้ ไอเดียเด็ด!!! ชาวเพชรบูรณ์


เวิร์คชอปปลดหนี้

ไอเดียเด็ด!!! ชาวเพชรบูรณ์

 

ปรบมือรัวๆให้กับพี่น้องชาวเพชรบูรณ์ ที่ร่วมเวิร์คชอปจนได้ไอเดียเด็ด!!!

สามารถเดินเครื่องได้ทันที และที่สำคัญเป็นไอเดียสร้างสรรค์ที่ช่วยปลดหนี้ได้อีกด้วย

 

พี่น้องประชาชนจากทุกอำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ ราวสามร้อยคนที่เป็นฐานลูกค้าสมาชิกของ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ถูกจับแยกเพื่อให้คละกันแล้วเข้าประจำการณ์ในกลุ่มย่อย 10 กลุ่ม

 

หลังฟังบรรยายเพื่อนำเสนอวิธีคิดในการจักการปัญหาหนี้ พร้อมกรณีศึกษาตัวอย่างหลากหลายล้วนแต่สามารถจับต้องได้ เป็นตัวอย่างต่อยอดได้ทันที เมื่อถึงคราวพี่น้องต้องลุย ทั้ง 10 กลุ่มเร่งออกไอเดียอย่างเมามัน หลังจากได้รับการกระตุ้นจากพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม จากโจทย์ที่ได้รับ 4 ข้อ

 

ทำทำไม

ทำอะไร

ทำอย่างไร

ทำกับใคร ใครเกี่ยวข้อง

 

 

แม้มีข้อจำกัดเรื่องเวลา แต่ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรค์ มีตัวอย่างดีๆที่ถูกเลือกให้ขึ้นไปพรีเซ็นต์บนเวที ต่อหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มว่าด้วยเรื่องทำโฮมเสตย์แบบบ้านๆ ปลูกผักปลอดสารแล้วสร้างเครือข่ายเป็นโฮมสเตย์ชุมชน และกลุ่มว่าด้วยการปรับรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อเพิ่มมูลค่า

 

 

กลุ่มโฮมสเตย์บ้านๆปลูกผักปลอดสารไว้บริการลูกค้า เป็นกระบวนการคิดอย่างๆง่ายๆ ไม่ต้องซับซ้อนมาก ซึ่งเริ่มได้ทันทีหลังจากจบเวที เพียงแค่มีบ้านหลังเล็กๆ 1-2 หลัง ปรับปรุงนิดหน่อยเพื่อต้อนรับลูกค้าได้ เริ่มปลูกผักปลอดสารเคมี แล้วชักชวนเพื่อนๆจากหมู่บ้านข้างเคียง ชุมชนข้างเคียง เพียงแค่ในรัศมีตำบลของเราเองก่อน

 

 

แล้วใช้วิธีเชื่อมโยงเครือข่าย โดยใช้โซเชียลให้เกิดประโยชน์ ทั้งตั้งกลุ่มไลน์ ตั้งแฟนเพจเฟสบุ๊ค เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์คู่ขนานกันไป

 

อย่างไรก็ตามไอเดียที่เกิดขึ้นอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างในบางเรื่อง ทางกลุ่มจึงมองว่าตัวช่วยของพวกเขานั้นควรเป็นใครบ้าง เพื่อให้งานเดินได้เร็วขึ้น ซึ่งประกอบด้วยชาวชุมชนด้วยกันเอง และชุมชนข้างเคียง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆในพื้นที่ หน่วยงานราชการ สถานศึกษา และธนาคาร (ในที่นี้หมายถึงแหล่งทุน ที่สามารถสนับสนุนทั้งเงินทุนและองค์ความรู้ ซึ่งออมสิน และธ.ก.ส.ก็ทำหน้าที่ตรงนี้อยู่แล้ว)

 

 

กลุ่มว่าด้วยการปรับรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินด้วยการปลูกพืชชนิดอื่น เพื่อเพิ่มมูลค่าในที่นี้คือการปลูกส้มโอ ในชื่อ “กลุ่มส้มโอหวานบ้านคลองสีฟัน”

 

ความพิเศษของกลุ่มนี้คือการปรับพื้นที่เดิมจากการปลูกข้าว ปลูกยาสูบซึ่งได้ผลผลิตไม่ค่อยคงที่นัก แถมราคาตกต่ำ จึงไปศึกษาดูงานที่จังหวัดพิจิตร เรียนรู้การทำสวนส้มโอตลอดกระบวนการมีสมาชิกทั้งสิ้น 77 คน ค่อยๆเรียนรู้กันไป เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบฉบับของเกษตรกรถ่ายทอดให้กัน

 

ผลสำเร็จในเบื้องต้นนี้ ส้มโอคลองสีฟัน สามารถส่งขายให้กับห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ได้แล้ว และค่อยๆพัฒนายกระดับการผลิตไปเรื่อยๆ และกำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อผลักดันให้สามารถเข้าสู่ระดับการส่งออก

ในที่นี้ทางกลุ่มจึงเสนอแนวทางการผลักดันสู่ความสำเร็จด้วยการดำเนินงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อขอรับความช่วยเหลือเรื่ององค์ความรู้ กรมที่ดินเพื่อขอรับความช่วยเหลือเรื่องการจัดการที่ดิน ซึ่งยังติดเงื่อนไขสำคัญจนไม่สามารถขอการรับรองมาตรฐาน GAP ได้ และยังต้องการความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ทั้งในเรื่องงานวิชาการและเรื่องของการสื่อสารประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ผ่านโลกโซเชียล

 

 

นี่คือพลังจากการร่วมคิดร่วมสร้างสรรค์ การทำเวิร์คชอปจึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการได้มาแง่มุมดีๆ ในการต่อยอดสู่ความสำเร็จที่สวยงามในอนาคตอันใกล้นี้

 

สู้ๆครับพี่น้องเพชรบูรณ์   

 

หมายเหตุ : ถอดบทเรียนฉบับย่อจากงาน "การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยองค์กรการเงินชุมชน" จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ณ โรงแรมโฆษิตฮิลล์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561

 

 

 

 

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube