“โคราช” สตาร์ท 4.0 ขับเคลื่อนด้วยใจไปด้วยกัน


ในยุคของการพัฒนาตามนโยบายของคุณลุงตู่ที่ยึดหลัก “ประชาชนมั่งคั่ง”  มีคำแซวจากชาวบ้านในชุมชนแบบขำๆ ว่า มั่งคั่งอะไรหนอ? คำตอบแว่วๆ มาจากไกลๆ ว่า “หนี้สินมั่งคั่งไง” และมีเสียงเฮมาจากลุ่มที่นั่งรออยู่ก่อนแล้ว.........รัฐบาลไหนก็เหมือนกันนั่นแหละ

ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาจากยุคกระแสโลกาภิวัตน์ เกิดความเสียหายอย่างหนัก จากผลกระทบแบบ Micro จนก่อให้เกิดการรวมปัญหาเป็นวงใหญ่ระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ เหล่านี้ล้วนแต่ส่งกระทบทั้งสิ้น ในระยะช่วงปี 2555 กระแสการพัฒนาชุมชนที่ได้อ้างถึงกระบวนการของคน “จิตอาสา” ที่มีภาพสะท้อนออกมาให้เห็นของความพยายามที่จะสนองการทำงานพัฒนารวมถึงกระแสการพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ ทำให้นึกถึงการทำงานของหน่วยงานของบริษัทต่างๆ ที่ได้เริ่มการทำงานที่จะพยายามเข้าให้ถึงชุมชนและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ชนชาวบริษัทต้องทำงานร่วมกับชุมชนจะเริ่มจากตรงไหนดี  ช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างชุมชนกับบริษัทต่างๆ มีหลากหลายความสัมพันธ์ที่มีอยู่ หากแต่การทำงานพัฒนาจะต้อง win win ทั้งสองฝ่ายได้หรือไม่

หัวใจหลักของความสำคัญของการอยู่ร่วมกับชุมชน คือ การคิดถึงใจเขาใจเราก่อน ว่าขั้นพื้นฐานในความต้องการของเขาคืออะไรกันแน่ การแปรเปลี่ยนของความต้องการของชุมชนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ถูกปัจจัยภายนอกชุมชนที่ส่งผลกระทบไปยังชุมชนและตัวคนที่เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน

หากเปรียบเทียบกับต้นไม้ที่เห็นว่า สามราก จะทำอย่างไรให้ภาครัฐ (หน่วยงานราชการ)  ภาคเอกชน (ภาคธุรกิจ) และภาคประชาชน ช่วยกันประคับประคองต้นไม้ให้ยิ่งใหญ่ ให้ร่มเงายั่งยืนสวยงาม หรือแม้แต่ใต้ต้นไม้ก็ยังให้น้ำที่ใส เย็นได้ สามารถที่จะสู้แรงต้านทานจากภัยธรรมชาติ พายุ ฝน ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ การทำงานรวมกลุ่มเพื่อสร้างผลลัพธ์ร่วมกันโดยท่าน ดร.สุนทร  คุณชัยมัง ได้ให้แนวทางในการทำงานพัฒนาชุมชนชองภาคธุรกิจเพื่อที่จะรองรับ 4.0 ของนักชุมชนสัมพันธ์ของบริบทของบริษัทที่จะต้องทำเข้าใจในเรื่องของการจัดการแบบ Cross-Sector  Coordination[1] จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตได้


[1] เป็นการจัดการปัญหา  โดยเป็นการระดมสรรพกำลังเข้าไปร่วมกัดการต่อปัญหาของสังคมที่รุนแงและซับซ้อนเกินกว่าใครคนหนึ่งจะรับมือจัดการได้ตามลำพัง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ธุรกิจหรือรัฐบาล

ที่มา  :  การบรรยายของ ดร.สุนทร  คุณชัยมัง  “กิจการบริษัทกับการคาดหวัง/การอยู่รวมกับชุมชน , พฤศจิกายน 2014

หากเราจะมองดูงานพัฒนาที่ทันสมัยแบบใหม่ในปี 2560 จะต้องมีการทำงานร่วมมือกันในกลุ่มที่เป็นหลักได้แก่ ภาคธุรกิจ  ภาคราชการ และภาคประชาชน ให้ได้ตามเป้าหมายที่ภาครัฐพยายามวางเอาไว้

การทำงานในหลักของ Cross Sector ต้องคำนึงถึงการบูรณาการจากทั้ง 3 ภาคส่วน แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันมีหน่วยงานราชการที่พยายามใช้หลักการนี้อยู่เหมือนกัน  ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2559  ได้เข้าร่วมเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูลุ่มน้ำลำคลองตอนบน 6 อำเภอ ณ ห้องประชุมเปรมติณสูลานนท์ จ.นครราชสีมา

สำหรับในเวทีนี้ มีทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา คือ นายวิเชียร จันทรโณทัย มีความต้องการที่จะปฏิรูปการทำงานในส่วนของภาคราชการ โดยใช้หลักการ “การมีส่วนร่วม” (Public Participation) เป็นเครื่องมือที่จะไปสู่ปฏิรูปการทำงานในพื้นที่นครราชสีมาให้เริ่มไปสู่ 4.0

ที่มาของเวทีนี้ ก่อนหน้านี้มีการจัดทำแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปแล้ว แต่บังเอิญ มีกลุ่มคนภาคประชาชนได้เข้าไปร้องขอให้มีการจัดทำแผนโดยต้องมาจากความต้องการของประชาชนโดยแท้จริง ทำให้ทางพ่อเมืองอยากให้เกิดการทำงานที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฟื้นฟูลำตะคองนี้ขึ้นมา โดยหน่วยงานที่ได้เข้าร่วมในเวทีนี้ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น ภาคธุรกิจ (ขนาดเล็กที่มีเนื้อที่ติดกับคลองลำตะคอง)  และพระเอก นางเอกที่สำคัญได้แก่  ภาคประชาชนที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านตัวจริงๆ ที่อยู่ในพื้นที่อย่างแท้จริง 

ในฐานะผู้ร่วมสังเกตการณ์ที่เคยร่วมการทำงานกับทั้งภาคราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เวทีนี้ถือว่าเป็นความพยายามครั้งใหม่ที่จะขับเคลื่อนแบบใกล้ชิดของทุกภาคส่วนกันมากขึ้น ย่อมมีความแตกต่างจากแนวความคิดเดิม ที่เป็นการมอบนโยบายเป็นแบบแท่งอำนาจ (Top Down Process) การสื่อสารจากบนลงล่าง งานที่ได้ออกมาจึงเป็นแบบแท่งๆ ไม่มีมิติเชิงสัมพันธ์  แม้ว่าจะถูกต้องในกระบวนการแต่อาจจะยังห่างไกลความสำเร็จ

เมื่อโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกองคาพยพต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน แล้วให้กันมองปลายทางทางความสำเร็จให้เป็นเรืองเดียวกันและใช้ศักยภาพ หรือความถนัดของแต่ละภาคส่วนขับเคลื่อนทุกๆด้าน ไปพร้อมๆกัน แล้วความสำเร็จ ก็จะไม่ไกลเกินเอื้อม

ลุยกันสักตั้ง โคราชยุคใหม่

ยุคแห่งรอยยิ้มของทุกภาคส่วน

ยุคแห่งการขับเคลื่อนไปสู่ไทยแลนด์ 4.0

อย่างแท้จริง !

ABOUT

'ร้อยพลัง'  ไม่มุ่งหวังให้ทุกความคิด ความรู้ หรือความเห็น จำเป็นต้องเหมือนหรือไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากแต่เรามุ่งหวังว่า แต่ละพื้นที่ความคิดจะสามารถมองเห็นกันและกันจากบริบทที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้านและมองหาข้อเท็จจริงร่วมกันได้ 
read more

SUBSCRIBE

Facebook      YouTube